คู่มือการปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้

       คู่มือการปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้

HOME
1.  หลักการและเหตุผล                                                                                 
2.  วัตถุประสงค์  และเป้าหมาย                                                                                      
4. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน                                                                              
     4.1 การเสนอแผนปฏิบัติงานประจำปี                                                        
     4.2 แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี                                         
     4.3 การจัดทำแผนการดำเนินงาน                                                      
     4.4 การเตรียมการปฏิบัติงาน                                                                
     4.5 การปฏิบัติงานตามแผน                                                                  
          4.5.1 การประสานงาน                                                               
          4.5.2 การสำรวจ วางแผน และกำหนดความเหมาะสมการใช้ที่ดิน   
          4.5.3 การตรวจสอบข้อมูลที่ดินนอกพื้นที่เป้าหมาย                               
          4.5.4 การรังวัดแปลงที่ดิน ตรวจสอบเพื่อรับรองสิทธิ์                            
          4.5.5 การจัดทำข้อมูลเชิงบรรยาย                                         
          4.5.6 การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่                                
          4.5.7 การจัดทำผังแปลงที่ดิน  
5. การรายงานผลการปฏิบัติงาน                                                      
      5.1 การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน                                
      5.2 การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี                                     
      5.3 การรายงานผลการปฏิบัติงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ              
6. ภาคผนวก
      6.2 แบบฟอร์มแผนการดำเนินงาน (Action Plan)                       
 
 โครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้
1. หลักการและเหตุผล
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 และ 30 มิถุนายน 2541 กำหนดให้กรมป่าไม้ดำเนินการตามแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้เป็นไปอย่างเป็นระบบ ยั่งยืน และเกิดความชัดเจนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  โดยให้ทำการสำรวจพื้นที่ที่มีราษฎรครอบครองอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศให้ชัดเจน และขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองพื้นที่ป่าไม้ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดการที่ดินของรัฐเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม ในบริเวณพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามผลการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535ที่ปรับออกเป็นพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจและมีราษฎรอยู่อาศัย/ทำกิน
กรมป่าไม้ได้สนองตอบมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น โดยทำการสำรวจการถือครองพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศ และจัดตั้งโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ขึ้น เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้อย่างเป็นระบบ เน้นการควบคุมพื้นที่ป่าไม้เพื่อเป็นการสงวนคุ้มครอง ป้องกันพื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ไว้ให้ได้ ลดปัญหาความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ให้มีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม และช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัย/ทำกิน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยการใช้แนวทางการดำเนินการตามมาตรา 16 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรที่ครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ได้เริ่มรับผิดชอบดำเนินโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 โดยเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ศูนย์ปฏิบัติการที่ดินป่าไม้เชียงใหม่ และศูนย์ปฏิบัติการที่ดินป่าไม้แม่สะเรียง  HOME

2.วัตถุประสงค์
         2.1 เพื่อสนองพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการให้สิทธิทำกิน (สทก.) แก่ราษฎรในพื้นที่ป่าไม้
         2.2 มีระบบข้อมูลด้านทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ที่ชัดเจน ใช้ประโยชน์ได้ทุกระดับ
         2.3 ราษฎรได้มีที่อยู่อาศัย/ทำกิน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    เป้าหมาย
          ดำเนินโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 44 ป่า ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน  HOME

3. กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
          กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบด้วย
          3.1 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 16 ทวิ
          3.2 ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการอนุญาตให้ทำประโยชน์และอยู่อาศัยภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2530
          3.3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เรื่อง แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่และโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ (พ.ศ. 2541 – 2544)
          3.4 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้
          3.5  มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2547 เรื่อง แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้าน Supply side)
          3.6 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 เรื่อง การชุมนุมเรียกร้องของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด
          3.7 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้
          3.8 หนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ กษ 1204/6567 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2550 เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้
          3.9 หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อรับรองสิทธิ์
          3.9.1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
          (1) มีสัญชาติไทย
          (2) บรรลุนิติภาวะแล้ว และเป็นหัวหน้าครอบครัว
          (3) เป็นผู้ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ป่าไม้ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และยังคงทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
          3.9.2 ลักษณะพื้นที่ที่จะอนุญาตตามมาตรา 16 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
          (1) เป็นพื้นที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้วก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2541
          (2)  เป็นพื้นที่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4, 5
          (3) ไม่เป็นพื้นที่ป่าซึ่งใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้
          (4) ไม่เป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงามอันควรรักษาไว้
          (5) ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งได้ทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือได้รับอนุมัติโครงการสำหรับปลูกป่าระยะ 5 ปีไว้แล้ว
          (6) ไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ
          3.9.3 ลักษณะพื้นที่ควบคุมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
          (1) เป็นพื้นที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้วก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2541
          (2) เป็นพื้นที่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 หรือเป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศที่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4, 5  HOME

4. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน         
4.1 การเสนอแผนปฏิบัติงานประจำปี
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติประจำปีเสนอกรมป่าไม้พิจารณา โดยเอกสารการเสนอแผน ปฏิบัติงานตามแบบ ทป.6 (ภาคผนวก 1) ประกอบด้วย
          4.1.1 ข้อมูลสรุปเบื้องต้นเชิงขอบเขต มีรายละเอียดจำนวนไร่โดยประมาณเกี่ยวกับ
               (1) เนื้อที่ของป่าสงวนแห่งชาติ 
               (2) พื้นที่ที่ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
               (3) พื้นที่ราชการ/เอกชนใช้ประโยชน์
               (4) พื้นที่มอบให้ทำการปฏิรูปที่ดิน (ภายหลังกันคืนตามบันทึกข้อตกลง 14 กันยายน 2538)
              (5) พื้นที่คงสภาพป่า
              (6) คงเหลือเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน
          4.1.2 ข้อมูลเชิงประมาณ มีรายละเอียดจำนวนราย/แปลง/ไร่ โดยประมาณเกี่ยวกับ
              (1) ผลการสำรวจถือครองพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4, 5
              (2) พื้นที่ตามโครงการ สทก. เดิม ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4, 5
              (3) พื้นที่ที่ใช้ในกิจการด้านป่าไม้และอื่นๆ ที่มีราษฎรถือครองที่ดิน
                    (3).1 พื้นที่สวนป่า
                    (3).2 พื้นที่โครงการป่าไม้ฯ
                    (3).3 พื้นที่โครงการหลวง
          4.1.3 แนวเขตที่ต้องทำการรังวัด
              (1) แนวเขตประชิด ส.ป.ก. (กม.) ฝังหลักเขตป่าสงวนแห่งชาติ (หลัก)
              (2) แนวเขตควบคุม (กม.) ฝังหลักเขตชั่วคราวหรือตามมติ ครม. 30 มิถุนายน 2541
              (3) แนวเขตอื่นๆ (กม.)
          4.1.4 แผนที่วางแผนมาตราส่วน 1 : 50,000 แสดงพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ

4.2 แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี
กรมป่าไม้จัดส่งแผนปฏิบัติงานและงบประมาณประจำปี ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ดำเนินการตามที่กำหนด เอกสารแผนดังกล่าวประกอบด้วย
          4.2.1 แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีงบประมาณ (ปม.101 – 104) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม พื้นที่เป้าหมาย หมวดรายจ่าย/ประเภท/รายการ และแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำเดือน
          4.2.2 รายละเอียดการปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ข้อกำหนดการปฏิบัติงาน พื้นที่เป้าหมาย รายการกำหนดให้ดำเนินการ งบประมาณกิจกรรม แนวทางปฏิบัติ และข้อพิจารณาในการปฏิบัติโครงการฯ

4.3 การจัดทำแผนการดำเนินงาน
          หลังจากที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ได้รับแผนปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้แล้ว ส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ทำการเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับอัตรากำลัง งบประมาณ ปริมาณงาน ระยะเวลา ข้อสั่งการที่ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นป่า การกระจายอัตรากำลังอย่างเหมาะสมให้ทุกคนได้ออกทำงาน จากนั้นจึงจัดทำแผนการดำเนินงาน (Action Plan) นำเสนอผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ลงนามอนุมัติ (ภาคผนวก 2)

4.4  การเตรียมการปฏิบัติงาน
      4.4.1   ออกคำสั่งปฏิบัติงาน
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ออกคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นรายป่า รายละเอียดตามคำสั่งประกอบด้วยหัวหน้าโครงการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงาน แนวทางการปฏิบัติงานและงบประมาณ และส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าวให้กรมป่าไม้ทราบ

     4.4.2  ประสานงาน (ระดับจังหวัด/อำเภอ)
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ส่งสำเนาคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติ งานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้จังหวัดและอำเภอที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อเป็นการประสานงาน

    4.4.3 ซักซ้อมความเข้าใจของเจ้าหน้าที่
          ก่อนออกปฏิบัติงานภาคสนาม ส่วนจัดการที่ดินป่าไม้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ โดยมีประเด็นที่ซักซ้อมดังนี้
          (1) การปฏิบัติโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีหลักสำคัญในการดำเนินงานคือ จะต้องเป็นพื้นที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง หากเป็นพื้นที่แผ้วถางเพิ่มเติมหรือเปิดพื้นที่ใหม่ ถือว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่า ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด
          (2) การปฏิบัติงานให้เน้นผลสำเร็จเป็นรายป่า
          (3) ปฏิบัติงานในส่วนของการรังวัดแปลงที่ดินเป็นลำดับแรก รังวัดแนวเขตพื้นที่ควบคุม และฝังหลักเขตเป็นลำดับถัดไป
          (4)  ปริมาณงานรังวัดแปลงที่ดินที่ปฏิบัติได้ต่อเจ้าหน้าที่แต่ละนายไม่น้อยกว่าวันละ 4 แปลง
          (5) อัตราค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าจ้างเหมายานพาหนะ ค่าจ้างเหมาบริการงานรังวัดเพื่อช่วยปฏิบัติงาน
          (6) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ภายในวันที่ 3 ของทุกเดือน
          (7) หลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อรับรองสิทธิ์              

     4.4.4 จัดเตรียมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภาคสนามจัดเตรียมอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
          (1) แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1 : 50,000
          (2) ภาพถ่ายทางอากาศออร์โธสีมาตราส่วน 1 : 4,000
          (3) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรูปของแผนที่และข้อมูลดิจิตอล ได้แก่ แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ แนวเขตอุทยานแห่งชาติ แนวเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แนวเขตปฏิรูปที่ดิน แนวเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ แนวเขตการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ แนวเขตนิคมสหกรณ์ ฯลฯ
         (4)     คอมพิวเตอร์
         (5)     กล้องรังวัดพร้อมอุปกรณ์
         (6)     เทปวัดระยะ
         (7)     เครื่องมือหาค่าพิกัดโดยใช้สัญญาณดาวเทียม
         (8)     ไม้บรรทัดเสกล
         (9)     แบบบันทึกข้อมูลการตรวจสอบรังวัดแปลงที่ดินที่ราษฎรถือครอง

4.5 การปฏิบัติงานตามแผน
      4.5.1 การประสานงาน (ระดับอำเภอ/พื้นที่)
          หัวหน้าโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ทำการประสานงานกับส่วนราชการ องค์กร และราษฎรผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
          (1) รายงานตัวต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อชี้แจงการปฏิบัติโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่
          (2) ประสานแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล) กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อทราบการปฏิบัติโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่
          (3) จัดประชุมราษฎรที่ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมโดยชี้แจงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และแนวทางการปฏิบัติงาน กำหนดนัดหมายการดำเนินการในพื้นที่ และเอกสารหลักฐานที่ต้องนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ใบตอบรับการแจ้งการครอบครองที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 (ถ้ามี)      

     4.5.2 การสำรวจ วางแผน และกำหนดความเหมาะสมการใช้ที่ดิน
          (1) กำหนดพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ โดยอาศัยข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 50,000 และภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1 : 4,000 ภายในขอบเขตของป่าสงวนแห่งชาติจัดทำเป็นแผนที่วางแผนกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน (Baseline) เพื่อเป็นกรอบพื้นที่ดำเนินการ ซึ่งจะมีรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่คงสภาพป่า และพื้นที่ที่มีการทำประโยชน์
          (2) สำรวจตรวจสอบในภูมิประเทศจริง เพื่อหมายแนวกำหนดพื้นที่ที่มีสภาพป่า พื้นที่มีความลาดชันสูง พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม กันออกจากพื้นที่อยู่อาศัย/ทำกินของราษฎรให้ชัดเจน พร้อมทั้งจัดทำเป็นแนวเขตควบคุม เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่

     4.5.3 การตรวจสอบข้อมูลที่ดินนอกพื้นที่เป้าหมาย
          ทำการตรวจสอบข้อมูล สำรวจรังวัด และจัดทำข้อมูลแปลงที่ดิน พื้นที่ราชการ/เอกชน ใช้ประโยชน์ และพื้นที่อื่นๆ นอกพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ โดยแยกออกเป็น
        (1)     พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์แล้ว
        (2)    พื้นที่ที่ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์แล้วแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต
        (3)    พื้นที่ที่ยังไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์
        (4)    พื้นที่ที่ใช้ทำกิจการด้านป่าไม้
        (5)    พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมไม่มีผู้ถือครอง
        (6)    พื้นที่ไม่มีสภาพป่าตามธรรมชาติ
        (7)    พื้นที่มีความสำคัญเชิงนิเวศ
        (8)    พื้นที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
        (9)    พื้นที่มีความสำคัญเป็นแหล่งประวัติศาสตร์
       (10)   พื้นที่มีความสำคัญด้านโบราณคดี
 
      4.5.4        การรังวัดแปลงที่ดิน ตรวจสอบเพื่อรับรองสิทธิ์
ทำการรังวัดแปลงที่ดินที่อยู่อาศัย/ทำกินในพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ เพื่อให้มีขอบเขตชัดเจน จดข้อมูลรายการรังวัดเป็นรายแปลงประกอบการจำลองรูปร่างแปลงที่ดินพร้อมด้วยข้อมูลจุดเด่นในพื้นที่ เช่น ถนน ลำน้ำ สิ่งก่อสร้างถาวร ฯลฯ เพื่อความสะดวกในการสอบทานข้อมูล โดยจะนำผลการรังวัดไปจัดทำผังแปลงที่ดินเพื่อดำเนินการออกหนังสืออนุญาตหรือควบคุมไว้แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อรับรองสิทธิ์ที่กำหนดไว้ และมีข้อกำหนดในการรังวัดแปลงที่ดินดังนี้
            (1) พื้นที่อยู่ในเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1, 2 หรือในพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ ให้รังวัดเพื่อใช้เป็นข้อมูล จัดทำแผนที่รายแปลง จำนวนเนื้อที่ (ไม่ต้องฝังหลักเขตรายแปลง) จัดทำผังแปลงที่ดินรวม และรังวัดขอบเขตเพื่อการควบคุมพื้นที่ และฝังหลักเขตชั่วคราว
            (2) พื้นที่อยู่ในข่ายที่สามารถอนุญาตได้ตามมาตรา 16 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้ (อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4, 5 และไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ) ให้รังวัดแปลงที่ดิน เพื่อดำเนินการอนุญาตให้ราษฎรต่อไป
           (3) กรณีเป็นพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ให้รังวัดขอบเขตและแปลงที่อยู่อาศัยของราษฎรแต่ละรายในหมู่บ้าน จัดทำแผนที่รายแปลงและผังแปลงที่ดินรวมของแต่ละหมู่บ้าน หากเป็นพื้นที่ที่สามารถอนุญาตได้ ให้ดำเนินการเพื่อการอนุญาตต่อไป
          (4) กรณีราษฎรใช้ที่ดินทับซ้อนในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติหรือพื้นที่สวนป่า (ยกเว้นสวนป่าในความรับผิดชอบขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) ให้ทำการสำรวจรังวัด เพื่อให้ทราบข้อมูลขอบเขตแปลงที่ดิน จัดทำผังแปลงที่ดินรวม (ไม่ต้องฝังหลักเขตใดๆ ทั้งสิ้น) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาเฉพาะกรณีต่อไป
         (5) กรณีการสำรวจถือครองยังไม่ครอบคลุม ต้องดำเนินงานให้ครบถ้วนตามที่เป็นอยู่จริง และต้องเป็นไปตามหลักการสำคัญเกี่ยวกับการสำรวจถือครองพื้นที่ป่าไม้ คือต้องเป็นพื้นที่ที่มีการอยู่อาศัย/ทำกินในพื้นที่นั้นอยู่แล้วและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน มิใช่อพยพไปอยู่ที่อื่นแล้วจะขอกลับเข้ามาทำกินอีก กรณีเช่นนี้ถือเป็นการบุกรุกพื้นที่ใหม่ ทั้งนี้ ในการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ตกหล่นหรือยังทำการสำรวจถือครองไม่ครอบคลุมจะต้องให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยปกครองในพื้นที่ รับรองว่าได้อยู่อาศัย/ทำกินต่อเนื่องจริง
         (6) กรณีที่ดินอยู่อาศัย/ทำกินของราษฎรในพื้นที่ดำเนินการโครงการหลวง พื้นที่ที่เคยกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ (หมู่บ้านป่าไม้เดิม) และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่กำหนดเป็นวนอุทยาน จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนโครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ด้วย
        (7)  เมื่อทำการรังวัดแปลงที่ดินเสร็จแล้ว ให้ผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้นำชี้กรอกแบบบันทึกข้อมูลการตรวจสอบรังวัดแปลงที่ดินที่ราษฎรถือครอง  HOME

5.  การรายงานผลปฏิบัติงาน
     การรายงานผลทันทีหลังการปฏิบัติ
          (1) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ส่งสำเนาคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงาน รายงานให้กรมป่าไม้ทราบทันทีหลังมีคำสั่ง
          (2) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) รายงานผลการประชุมชี้แจงราษฎร ซึ่งหัวหน้าโครงการจัดส่งมาให้ ทันทีหลังการประชุมชี้แจงเสร็จสิ้น โดยไม่ต้องรอส่งพร้อมการรายงานผลงานประจำเดือน (ภาคผนวก 3)
      5.1  การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน
หัวหน้าโครงการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ภายในวันที่ 3 ของทุกเดือน และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนให้กรมป่าไม้ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน (ภาคผนวก 4) ข้อมูลที่ต้องรายงานประกอบด้วย
     (1) สำรวจกำหนดความเหมาะสม
     (2) ตรวจสอบและรับรองสิทธิการอยู่อาศัย/ทำกิน
         (2).1 กรณีต่ออายุหนังสืออนุญาต สทก.
         (2).2 กรณีเป็นแหล่งใหม่ที่จะทำการรับรองสิทธิตามแบบ สทก.
         (2).3 กรณีเป็นพื้นที่ล่อแหลมต้องควบคุม/จัดระเบียบชุมชน
     (3) การจัดทำแนวเขต
         (3).1 รังวัดแนวเขตควบคุมไม่ให้ขยายพื้นที่
         (3).2 รังวัดแนวประชิด ส.ป.ก.
     (4) สำรวจข้อมูลบริเวณขอเข้าทำประโยชน์
     (5) สำรวจตรวจสอบที่พักสงฆ์
     5.2   การรายงานผลปฏิบัติงานประจำปี
หัวหน้าโครงการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ ให้สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) ภายในวันที่ 5 ตุลาคม และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนให้กรมป่าไม้ทราบภายในวันที่ 10 ตุลาคม (ภาคผนวก 5) ข้อมูลที่ต้องรายงานประกอบด้วย
     (1) ผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ
         (1).1 สำรวจกำหนดความเหมาะสม
         (1).2 ตรวจสอบและรับรองสิทธิการอยู่อาศัย/ทำกิน
            (1).2.1 กรณีต่ออายุหนังสืออนุญาต สทก.
            (1).2.2 กรณีเป็นแหล่งใหม่ที่จะทำการรับรองสิทธิตามแบบ สทก.
            (1).2.3 กรณีเป็นพื้นที่ล่อแหลมต้องควบคุม/จัดระเบียบชุมชน
         (1).3 การจัดทำแนวเขต
            (1).3.1 รังวัดแนวเขตควบคุมไม่ให้ขยายพื้นที่
            (1).3.2 รังวัดแนวประชิด ส.ป.ก.
         (1).4 สำรวจข้อมูลบริเวณขอเข้าทำประโยชน์
         (1).5 สำรวจตรวจสอบที่พักสงฆ์
     (2)  สรุปผลการดำเนินการ
               (2).1 รังวัดเพื่อออกหนังสือรับรองสิทธิ์ทำกิน (สทก.)
               (2).2 รังวัดเพื่อควบคุมพื้นที่
               (2).3 ฝังหลักเขตควบคุมพื้นที่
               (2).4 ฝังหลักเขตแปลงที่ดิน สทก.
     (3)  ผลการปฏิบัติงาน
               (3).1 งบประมาณ
               (3).2 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
               (3).3 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
     (4)  การปฏิบัติงานภาคสนามด้านการควบคุมพื้นที่
     (5)  สรุปผลการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ถึงสิ้นปีงบประมาณ
     (6)  สรุปการดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น
     (7)  สรุปงานค้างที่ต้องดำเนินการจนเสร็จสิ้นโครงการฯ
     (8)  ข้อบันทึกอื่นๆ
      5.3   การรายงานผลปฏิบัติงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
          เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งโครงการแล้ว สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) โดยหัวหน้าโครงการ ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลที่ดินป่าไม้โครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (แบบ ทป. 7) และรายงานกรมป่าไม้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน ข้อมูลที่ต้องรายงาน (ภาคผนวก 6) ประกอบด้วย
     (1) ข้อมูลเอกสาร
     (1).1  แบบรายงานข้อมูลที่ดินป่าไม้ โครงการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้
     (1).2 แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 แสดงพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและ
           รายละเอียดตามรายการข้อมูลที่ดินป่าไม้
     (1).3 สารบาญพื้นที่ (ประกอบแผนที่ตามข้อ (1).2)
     (1).4 ข้อมูลบุคคลราษฎรผู้ถือครองที่ดิน (แยกตามระวางภาพถ่ายทางอากาศ)
            ในรูปไฟล์ Excel
         (1).4.1 กรณีพื้นที่ควบคุม
         (1).4.2 กรณีพื้นที่จะรับรองสิทธิ์ทำกินแบบ สทก.
         (1).4.3 กรณีพื้นที่ต่อหนังสืออนุญาต สทก.
     (1).5 ผังแปลงรวม
     (2) ข้อมูลดิจิตอล
     (2).1 ข้อมูลบุคคลราษฎรผู้ถือครองที่ดิน (แยกตามระวางภาพถ่ายทางอากาศ) ในรูปไฟล์ Excel
         (2).1.1 กรณีพื้นที่ควบคุม
         (2).1.2 กรณีพื้นที่จะรับรองสิทธิ์ทำกินแบบ สทก.
         (2).1.3 กรณีพื้นที่ต่อหนังสืออนุญาต สทก.
     (2).2 ข้อมูลแปลงที่ดิน (แยกตามระวางภาพถ่ายทางอากาศ) ในรูปตาราง Attibute ของ Shape Fileในระบบ GIS