English (United Kingdom)Thai (ภาษาไทย)



        "ของป่า" หมายถึงผลิตผลจากป่าทุกชนิดยกเว้นไม้ ได้มีการพยายามที่จะจำแนกของป่ากันในแต่ละประเทศ บางประเทศแยกจากการใช้ประโยชน์ โดยหมายรวมถึงของป่าที่สัมผัสไม่ได้ เช่น สถานที่พักผ่อน อุทยาน เป็นต้น บางประเทศแยกตามลักษณะของผลิตผล สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีของป่ามากมายหลายชนิด เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพของพืชในเขตร้อน ได้รวบรวมของป่าเป็นหมวดหมู่ ตามการใช้ประโยชน์ของป่า โดยได้จำแนกของป่าเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
       ของป่าอื่นๆ มีอีกมากมายหลายชนิด เช่น ใบลาน ใบชา กก ไม้กวาด เป็นต้น ซึ่งจะไม่นำมากล่าวในที่นี้ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษา จึงไม่มีข้อมุลเพียงพอ และมีปริมาณน้อย ประเทศไทยรู้จักใช้ประโยชน์ของป่ามาแต่ดึกดำบรรพ์ ราษฎรที่อาศัยอยู่ในป่า หรือ บริเวณช้างเคียง พื่งพาอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพักพิงตลอดรวมถึงสิ่งของเครื่องใช้สอยในครัวเรือนและเก็บหาของป่าเพื่อค้าขายเล็กๆ น้อยๆ เป็นรายได้เสริม
       แม้ว่าของป่าจะมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเพียงไร แต่ก็ได้ถูกละเลยจากการจัดการบนพื้นฐานที่ถูกต้องมากเป็นเวลานานจนกระทั่งปี พ.ศ.2532 ประเทศไทยได้ยกเลิกสัมปทานการตัดไม้ประกอบกับเริ่มมีกระแสเรื่องการอนุรักษ์ป่า ของป่าจึงได้รับความสนใจในด้านการใช้ประโยชน์อย่างบั่งยืน รวมทั้งด้านการใช้ประโยชน์จากป่าและการรักษาป่าในขณะเดียวกัน เนื่องจากเป็นการใช้ประโยชน์จากป่าโดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า
ประโยชน์จากของป่า   มีดังนี้
1.เพื่อใช้เป็นอาหารพื้นบ้าน
2. เพื่อประโยชน์การใช้สอยในครัวเรือนในชีวิตประจำวัน
3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวในระดับท้องถิ่น
4. ก่อให้เกิดการสร้างงาน ในด้านการเก็บหา การผลิต และการขนส่ง
5. สินค้าบางชนิดได้พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละประมาณ 300-500 ล้านบาท
6. ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากมีการจัดการอย่างถูกต้อง
การแบ่งประเภทตามกฎหมายป่าไม้
กฎหมายป่าไม้ได้แบ่งประเภทของป่าเป็น 2 ประเภท คือ
       1.   ของป่าหวงห้าม ได้จัดรวมของป่าที่หายากและการเก็บหาเป็นอันตรายแก่ต้นไม้ รวมเข้าไว้ด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเก็บหาโดยไม่ต้องขออนุญาตต่อกรมป่าไม้ในปริมาณจำกัดที่เพียงพอต่อการใช้สอยในครัวเรือน โดยได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดปริมาณมีไว้ในครวอบครองซึ่งของป่าหวงห้าม พ.ศ. 2531 ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2531
       ในการเก็บหาของป่าหวงห้ามเกินปริมาณกำหนดจะต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้เป็นรายๆ ไปตามหลักเกณฑ์กำหนดไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่  19 (2507) ว่าด้วยการเก็บหาของป่าหวงห้าม ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าว ได้กำหนดวิธีการเก็บหาไว้ในแต่ละชนิด เพื่อผู้เก็บหาจะไม่ทำอันตรายต่อต้นไม้และป่าไม้ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2530 ขึ้น ใช้บังคับแก่ผู้ที่จะเก็บหาของป่าหรือมีของป่าไว้ในครอบครอง
       2. ของป่าไม่หวงห้าม ได้แก่ ของป่าอื่นๆ ซึ่งไม่มีอยู่ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 

เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่าน? ลืมชื่อเข้าใช้งาน? ลงทะเบียน  

VDO Streaming

ปฏิทินกิจกรรม

เมษายน 2024
S M T W T F S
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4

แบบสำรวจเว็บไซต์

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์
 

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้2948
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้8456
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้73911
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา63229
mod_vvisit_counterเดือนนี้226787
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา299627
mod_vvisit_counterทั้งหมด19407020

กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์:(662)-561-4292-3 โทรสาร:(662)-940-5910 Thailand Web Stat