" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  (ด้านป่าไม้)



เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าถึงแรงบันดาลใจในความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า น้ำดิน ซึ่งโยงใยมีผลกระทบต่อกัน ตั้งแต่เมื่อครั้งยัง   ทรงพระเยาว์ว่า".....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ   10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้วสอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่าภูเขาต้องมีป่า อย่างนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหายดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด  ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะเรียนมาตั้งแต่อายุ  10 ขวบ....."   การที่ทรงเห็นความสำคัญของปัญหาป่าเสื่อมโทรม  ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ   ไม่เฉพาะแต่ปัญหาเรื่องดิน เรื่องน้ำเท่านั้น หากโยงใยถึงปัญหาทางสังคม  เศรษฐกิจ การเมืองคุณธรรมและระบบนิเวศน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้แนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาป่า  มิได้เป็นกิจกรรมที่ดำเนินไป  อย่าง โดดๆ หากแต่รวมเอางานพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดเข้าไปทำงานในพื้นที่อย่าง ประสานสัมพันธ์กันแนวพระราชดำริด้านการป่าไม้ ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี  พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชทานพระราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด 3 ชนิด ที่แตกต่างกัน คือไม้ผลไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจเพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและสร้าง ความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืนสามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ  และวิถีประชาในชุมชนประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึด เป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า "เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน  แล้ว คนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง" นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้

    ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฎธรรมชาติ (Natural  Reforestation) พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้ เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคงและถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริม ระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ คือ กลยุทธ์การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นไปตามหลักการกฎธรรมชาติ  (Natural  Reforestation)  อาศัยระบบวงจรป่าไม้  และการทดแทนตามธรรมชาติ  (Natural  Reforestation)  คือ  การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเติบโตของต้นไม้และควบคุมไม่ให้มีคนเข้าไป ตัดไม้ไม่มีการรบกวนเหยียบย่ำต้นไม้เล็กๆ  เมื่อทิ้งไว้ช่วงระยะเวลา

  



 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740