" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  (ด้านป่าไม้) - ต่อ


5.การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง : การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยพระปรีชาญาณอย่างชาญฉลาดให้เกิดประโยชน์ แก่ปวงชนมากที่สุดยาวนานที่สุดและทั่วถึงกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำการปลูกป่าในเชิงผสม ผสานทั้งด้านเกษตร วนศาสตร์และเศรษฐกิจสังคมไว้เป็นมรรควิธี ปลูกป่าแบบเบ็ดเสร็จนั้นไว้ด้วยลักษณะทั่วไปของป่า 3 อย่างพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างนั้น มีพระราชดำรัส ความว่า
"ป่าไม้ที่จะปลูกนั้น สมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้หนึ่ง ป่าสำหรับใช้ผลหนึ่ง ป่าสำหรับใช้เป็นฟืนอย่างหนึ่ง อันนี้แยกออกไปเป็นกว้างๆใหญ่ๆการที่จะปลูกต้นไม้สำหรับได้ประโยชน์ดังนี้ใน คำวิเคราะห์ของกรมป่าไม้รู้สึกจะไม่ใช่ป่าไม้  เป็น สวนหรือจะเป็นสวนมากกว่าป่าไม้แต่ในความหมายของการช่วยเหลือเพื่อต้นน้ำ ลำธารนั้นป่าไม้เช่นนี้จะเป็นสวนผลไม้ก็ตาม หรือเป็นสวนไม้ฟืนก็ตามนั่นแหละเป็นป่าไม้ที่ถูกต้องเพราะทำหน้าที่เป็นป่า คือเป็นต้นไม้และทำหน้าที่เป็นทรัพยากรในด้านสำหรับให้ผลที่มาเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนได้..."   และได้มีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า
" การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่างแต่มีประโยชน์ 3 อย่าง คือไม้ใช้สอยไม้กินได้ไม้เศรษฐกิจโดยปลูกรองรับการชลประทานปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ..." พระราชดำริเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ ดำเนินการ ในหลายส่วนราชการทั้งกรมป่าไม้และศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราช ดำริทุกแห่งคือการป่าไม้ใช้สอยโดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัด กิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใชในการก่อสร้างและหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โต เร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระถินยักษ์และสะเดา เป็นต้น

6.วิธีการปลูกป่าเพื่อทดแทนหมุนเวียน 
นอกจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเดิม เกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อใช้ทำฟืนว่า "...การ ปลูกป่าสำหรับใช้เป็นฟืนซึ่งราษฎรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำ ในการนี้จำเป็นต้องใช้เป็นประจำในการนี้จะต้องคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้ปลูก เปรียบเทียบกับจำนวนของราษฎรตลอดจนการปลูกและตัดต้นไม้ไปใช้จะต้องใช้ระบบ หมุนเวียนและมีการปลูกทดแทนอันจะทำให้มีไม้ฟืนสำหรับใช้ตลอดเวลา..."
วิธีการปลูกป่าทดแทน
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำแนะนำให้มีการปลูกป่าทดแทนตามสภาพ ภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ที่เหมาะสมกล่าวคือ
      1.ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถางและ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม " การปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรมหรือพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ถูกบุกรุกแผ้ว ถางจนเป็นภูเขาหัวโล้นแล้วจำต้องปลูกป่าทดแทนเร่งด่วนนั้นควรจะทดลองปลูก ต้นไม้ชนิดโตเร็ว คลุมแนวร่องน้ำเสียก่อนเพื่อทำให้ความชุ่มชื้นค่อย ๆ ทวีขึ้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟจะเกิดง่ายหากป่าขาด ความชุ่มชื้นในปีต่อไปก็ให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถัดขึ้นไป ความชุ่มชื้นก็จะแผ่ขยายกว้างต่อไปอีกต้นไม้จะงอกงามดีตลอดทั้งปี "

      2.การปลูกป่าทดแทนตามไหล่เขา " จะต้องปลูกต้นไม้หลายๆชนิดเพื่อให้ได้ประโยชน์เอนกประสงค์คือมีทั้งไม้ผล ไม้สำหรับก่อสร้างและไม้สำหรับทำฟืนซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องใช้เป็นประจำซึ่ง เมื่อตัดไม้ใช้แล้วก็ปลูกทดแทนหมุนเวียนทันที "

      3.การปลูกป่าทดแทนบริเวณต้นน้ำบนยอดเขาและเนินสูง " ต้องมีการปลูกป่าโดยปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืนซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถ ตัดไปใช้ได้แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะส่วนไม้ยืนต้นจะช่วยให้อากาศมี ความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนแบบธรรมชาติทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย "

     4.ให้มีการปลูกป่าที่ยอดเขา เนื่องจากสภาพป่าที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่างและคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่มีเมล็ดเป็นฝัก เพื่อ ให้เป็นกระบวนการธรรมชาติปลูกต่อไปจนถึงตีนเขา

      5.ปลูกป่าบริเวณอ่างเก็บน้ำ หรือเหนืออ่างเก็บน้ำที่ไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ

      6.ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค
      7.ปลูกป่าให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยให้ราษฎรใน ท้องที่นั้นๆเข้ามามีส่วน ร่วมในการปลูก และดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโต นอกจากนี้ยังเป็นการดูแลฝังจิตสำนึกให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า
      8.ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เพื่อเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า

 



 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740