" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ
There are no translations available.

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดลพบุรี

 

ความเป็นมาและพระราชดำริฯ

1.             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีสายพระเนตรกว้างและยาวไกล  ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  โดยทรงเริ่มดำเนินงานพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และความหลากหลายทางชีวภาพ  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๕๐๓  เป็นต้นมา  โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการสำรวจรวบรวมปลูกดูแลรักษาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากและกำลังจะหมดไป 

2.             ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   ได้ทรงสานพระราชปณิธานต่อโดยมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ  วัชโรทัย  เลขาธิการพระราชวัง  ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศโดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ  สวนจิตรลดา  เป็นผู้ดำเนินการ    จัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๕๓๖  เป็นต้นมา

3.             การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราช ดำริฯ  ในระยะที่ผ่านมาถึงปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ  ร่วมสนองพระราชดำริเพิ่มมากขึ้น  ทำให้พื้นที่และกิจกรรมดำเนินงานของโครงการกระจายออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ  และมีการดำเนินงานที่หลากหลาย  ซึ่งจังหวัดลพบุรี  ได้มีการค้นพบจำปีชนิดใหม่ของ   โลก (new species )  ชื่อว่า  “จำปีสิรินธร

                               
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ จังหวัดลพบุรี ขึ้นในปีงบประมาณ 2549 (ธันวาคม 2548)

 

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1.             เพื่อสนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริฯ อนุรักษ์พืชพรรณและความยั่งยืนทางชีวภาพ  (Biodiversity) ของจังหวัดลพบุรีโดยเริ่มจากจำปีสิรินธร

2.             เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ  เพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ทางวิทยาการที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และ พัฒนา

3.             ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากร  ร่วมคิดร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์แก่มหาชา และมีระบบข้อมูลที่สื่อถึงกัน

 

การดำเนินกิจกรรม ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  จังหวัดลพบุรี

การดำเนินงานตามศักยภาพและความพร้อมเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ ๕ ปีที่สี่ โดยมีกรอบการดำเนินงานดังนี้

1.             กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
1.1    กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช
1.2    กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช
1.3    กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

2.             กรอบการใช้ประโยชน์ กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช

3.             กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740