" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้174
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้141
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้1271
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา931
mod_vvisit_counterเดือนนี้2782
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา6251
mod_vvisit_counterทั้งหมด1000689

There are no translations available.

สิรินธรวัลลี

 

 

คำอธิบาย: http://www.forest.go.th/orip/images/stories/Botany_etc/Bauhinia%20sirindhorniae%20-1.jpg

 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia sirindhorniae K. & S. S. Larsen, Nord. J.Bot.

วงศ์               

Leguminosae – Caesalpinioideae

ชื่ออื่น           

สามสิบสองประดง

ลักษณะทั่วไป (Characteristic)

ไม้เถาเลื้อยเนื้อเเข็ง เลื้อยได้ไกล 10-20 เมตร มีมือพันตามซอกใบแยกเป็น 2 อัน
ปลายม้วนงอ ใช้เกาะเกี่ยว ยอดอ่อน กิ่งอ่อน ช่อดอกและฝักมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม

 

      

 

ใบ (Foliage)

ใบเดี่ยว  เรียงสลับ  ใบอ่อนมักเเยกเป็น 2 ใบย่อย   ปลายใบแหลมโค้งเป็นรูปเคียว  โคนใบเว้า ใบที่โตเต็มที่รูปไข่ กว้าง 4-17 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 2 แฉกตื้นๆหรือแยกลึกจนเกือบชิดโคนใบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน

 

 ดอก (Flower)

 สีส้มถึงส้มอมชมพู หรือสีขาว(ภูพาน)  ออกเป็นช่อเชิงประกอบแบบช่อกระจุก   ช่อดอกยาว 10-15 เซนติเมตร   โคนกลีบประดับเชื่อมติดกัน ปลายเเยก 3 แฉก มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ
ดอกทยอยบานในแต่ละช่อ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-2 เซนติเมตร

 

 ผล (Fruit)

ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 10-18 เซนติเมตร เมล็ดกลมแบน 5-7 เมล็ด

 
การกระจายพันธุ์ พืชถิ่นเดียวของไทย พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยพบในป่าดิบแล้งบนเทือกเขาในจังหวัดหนองคาย

 
การใช้ประโยชน์ ผลอ่อน : ขับปัสสาวะ แก้โรคหนองใน กามโรค ขับพยาธิในเด็ก ทำให้แท้งได้ ใบ : เป็นยาขับพยาธิ  

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740