" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้37
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้356
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้718
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1417
mod_vvisit_counterเดือนนี้3326
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา6251
mod_vvisit_counterทั้งหมด1001233

ยางนา : ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใย Print E-mail
There are no translations available.

ยางนา : ไม้มีค่าที่ในหลวงทรงห่วงใย






                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปรารถเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ด้วยทรงห่วงในสถานการณ์ของไม้ยางนาเมื่อกว่า ๔๐ ปีที่แล้วว่า

 

                ไม้ยางนาในประเทศไทยได้ถูกตัดไปใช้สอยและทำเป็นสินค้ากันเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี เป็นที่น่าวิตกว่าหากมิได้ทำการบำรุงส่งเสริมและดำเนินการปลูกไม้ยางนาขึ้นแล้ว ปริมาณยางนาก็จะลดน้อยลงไปทุกที จึงควรจะได้มีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาเพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ




 

                ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) เป็นเสมือนพยาไม้แห่งเอเชียอาคเนย์ เพราะมีขนาดสูงใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียอาจมีความสูงถึง ๕๐ เมตรและมีเส้นรอบวงที่ระดับอกถึง ๗ เมตร ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไป ซึ่งยืนยันได้จากชื่อหมู่บ้าน ตำบล อำเภอที่มีคำว่า ยาง อยู่ในทุกภาคของประเทศ เช่น อำเภอท่ายาง ท่าสองยาง ยางตลาด และยางชุมน้อย เป็นไม้เอนกประสงค์ แทบทุกส่วนสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นแหล่งอาหารป่า แหล่งนันทนาการ น้ำมันยาก สมุนไพร และเนื้อไม้สำหรับใช้สอยทั่วไป จนพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๕๔ ได้ให้ความสำคัญของไม้ยางเท่าเทียมกับไม้สัก ด้วยการกำหนดว่าทั้ง ไม้สักและไม้ยางนาทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่กับที่ใด (รวมทั้งในเอกชน) เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. (ไม้หวงธรรมดา) ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศไทยก็ยังต้องนำเข้าไม้ยางถึง ๑๔๑,๘๒๔ ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่า ๑,๐๔๕ ล้านบาท


 

                ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ในการเสด็จพระราชดำเนินทางรถยนต์ไปแปรพระราชฐาน ณ พระที่นั่งไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านป่ายางนาสูงใหญ่สองข้างทางถนนเพชรเกษม ช่วงหลักกิโลเมตรที่ ๑๗๖-๑๗๙ ท้องที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังไปเก็ยเมล็ดยางนาเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๐๔ ให้เจ้าหน้านำไปเพาะเลี้ยงกล้าไว้ใต้ร่มต้นแคบ้านในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐานส่วนหนึ่งและได้ทรงเพาะเมล็ดไม้ยางนาโดยพระองค์เองไว้บนดาดฟ้าพระตำหนักเปี่ยมสุข ในพระราชวังไกลกังวล หัวหิน อีกส่วนหนึ่ง

 

                จากนั้นได้ทรงปลูกกล้าไม้ยางนาอายุ  ๔ เดือน ในบริเวณสวนจิดลดาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร คณาจารย์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นวันคล้านวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์จำนวน ๑,๐๙๖ ต้น โดยมีระยะปลูก ๒.๕๐ x ๒.๕๐ เมตร เนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ๑ งาน ซึ่งถือเป็นสวนป่ายางนาที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมกับทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะวนศาสตร์และโครงการส่วนพระองค์ส่วนจิตรดา ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกไม้ยางนาในบริเวณสวนจิตรลดา โดยมีศาสตราจารย์ เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าโครงการ

 

                งานวิจัยในครั้งนั้นมี ๓ สิ่งทดลองหลัก คือ

                ปุ๋ย           (ไม่ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๒๐ ก./ไร่ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ๔๐ ก./ไร่)

                ให้ร่มด้วยไม้ระแนง               (ไม่ให้ร่ม ให้ร่ม ๕๐ % และให้ร่ม ๗๕ % )

 

                ปลูกพืชควบ           (ปลูกยางนาควบกับแคบ้าน กล้วย และอ้อย)

                และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณาจารย์และนิสิตคณะวนศาสตร์ เข้าไปดูแลรักษาและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเข้าไปปลูกต้นไม้ในวันปลูกต้นไม้ประจำปีแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตราบเท่าทุกวันนี้

 

ในส่วนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่างานวิจัยไม้ยางนาในสวนจิตรลดามีจุดเด่น 3 ประการคือ

๑.เป็นงานวิจัยด้านวนวัฒนวิทยาเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๒.แปลงทดลองและงานทดลองภาคสนามอยู่ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

๓.เป็นต้นแบบของการวิจัยและการปลูกป่าตามระบบวนเกษตรซึ่งมีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา

 

          ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับ กรมป่าไม้ จึงได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่อง ไม้ยางนาและไม้ในวงศ์ยาง ขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2542 พร้อมกับจัดพิมพ์เอกสารประกอบการประชุมสัมมนารวม 4 ฉบับ และปลูกต้นยางนาบริเวณอาคารสารนิเทศ 50 ปี จำนวน 9 ต้น ไว้เป็นที่ระลึก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 ด้วย

 

 

บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์
ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740