" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้52
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้160
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้765
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา2041
mod_vvisit_counterเดือนนี้4925
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา7333
mod_vvisit_counterทั้งหมด996581

There are no translations available.

มหาพรหมราชินี

 

 

 



 

 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders

วงศ์

ANNONACEAE

ความเป็นมา

ต้น มหาพรหมราชินีเป็น พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก อยู่ในสกุลมหาพรหม ซึ่งค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยพบว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณยอดเขาสูงชัน ที่ระดับความสูง ๑,๑๐๐ เมตร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับการตรวจรับรองพรรณไม้ดังกล่าวจาก Dr. Aruna Weerasooriya ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ สกุลมหาพรหมแหงมหาวิทยาลัยฮ่องกง

ข้อมูลพรรณไม้ดังกล่าว ลงตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of  Botany แห่ง ประเทศเดนมาร์ก โดยได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระนามาภิไธย เป็นชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ว่า มหาพรหมราชินี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitrephora siriketiae Weerasooriya, Chalermglin & R.M.K. Saunders เพื่อ เป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

ลักษณะ

ลักษณะของต้นมหาพรหมราชินี เป็นไม้ต้นขนาดเล็กสูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบมีรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบ เรียบเป็นมันทั้ง 2 ด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นใบแขนงใบจำนวน 8-11 คู่

 

ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ออกที่ใกล้ปลายยอด เป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้อื่นๆ ในสกุลมหาพรหมเดียวกัน คือ เมื่อบานเต็มที่มีดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1.8-2.7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปไข่กว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ๆละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นนอกเป็นรูปไข่ กว้าง 4.1-5.3 เซนติเมตร โคนกลีบบาน ปลายกลีบเรียวแหลมกลีบบางสีขาวมีลายเส้นเรียงตามความยาวของใบ กลีบดอกชั้นในกว้าง 3.6-4.1 เซนติเมตร ยาว 3.7-4.3 เซนติเมตร โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอกบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ มีฤดูดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม

 

ส่วนผล เป็นผลกลุ่มมีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2-2.4 เซนติเมตร ยาว 5.5-8 เซนติเมตร มีขนอ่อนปกคลุมหนาแน่นมี ซึ่งจะมีผลแก่ในช่วงเดือนตุลาคม

 

นิเวศวิทยา

มหาพรหมราชินีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ

 

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740