" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา จังหวัดน่าน

พระราชดำริ

พระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาโดยการบูรณาการการพัฒนาหลายๆ ด้าน ตามสภาพปัญหาของพื้นที่ ทั้งด้านเกษตร โภชนาการ สุขภาพ การศึกษา การส่งเสริมอาชีพ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจังหวัดน่าน กรมป่าไม้

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรบ่อเกลือสินเธาว์ ณ บ้านบ่อหลวง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรที่มีความด้อยโอกาสทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม จึงมีพระราชดำริให้สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ ดำเนินการช่วยเหลือการพัฒนาในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ โดยเริ่มพัฒนาที่โรงเรียนประถมศึกษาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงขยายไปยังศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวงประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่

1.             โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

2.             โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

3.             โครงการส่งเสริมสหกรณ์

4.             โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดฯ ให้จัดตั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนาขึ้น เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราษฎรพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 เพื่อใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้การพัฒนาไปสู่ราษฎร ในพื้นที่เป้าหมายท้องที่อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตามพระราชปณิธานของพระองค์ โดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ดังนี้

1.             เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูง และใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไป

2.             เพื่อการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของราษฎร และพื้นที่บนที่สูง

3.             เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องด้านการตลาด

4.             เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่น

5.             เพื่อการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน

 

เดิมโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ที่ 9 (พมพ.9) บ้านสบมาง นาบง (กรมป่าไม้เดิม) ได้เข้ามาดำเนินการจัดที่ทำกิน ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่อยู่แล้ว ครั้ง มีการจัดตั้ง ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจังหวัดน่าน ขึ้น ในปี พ.ศ. 2542

กรมป่าไม้จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ โดยอยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าโครงการ พมพ.9 อีกหน้าที่หนึ่ง ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้โอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้ประกาศใช้บังคับตามพระราชกฤษฎีกาโอนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงอำนาจหน้าที่และกิจการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2546 มีผลให้กิจกรรมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริย้ายไปสังกัดกรมอุทยานแห่ง ชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อมา ในปี พ.ศ. 2547 กรมป่าไม้ได้จัดทำแผนโครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจังหวัดน่านใหม่อีกครั้ง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ สนองพระราชดำริด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มมูลค่าทรัพยากร ธรรมชาติที่เหมาะสมกับศักยภาพชุมชน โดยมีนายประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล เป็นหัวหน้าโครงการฯ คนแรก

วัตถุประสงค์

1.             เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูงควบคู่กับการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.             เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมกับศักยภาพของชุมชน และพื้นที่สูง

3.             เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน

เป้าหมายของโครงการ

1.             ราษฎรเรียนรู้การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเชิงอนุรักษ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

2.             ราษฎรมีอาชีพนอกภาคเกษตรที่เชื่อมโยงกับวัตถุดิบ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.             ราษฎรมีอาชีพเกษตรในระบบวนเกษตร-ปศุสัตว์-ประมง มีมาตรการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมต้นน้ำ

4.             พื้นที่ป่าไม้มีการจัดการที่ดีและมีการอนุรักษ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางอ้อม

ผลการการปฏิบัติงาน และแผนงานและกิจกรรมปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

1.             เพาะชำกล้าไม้มีค่า 40,000 กล้า เพาะชำกล้าไม้หายาก และกล้าไม้พื้นถิ่น (ต๋าว, มะแขว่น, สัก, พญาไม้, ชาอูหลง และไม้ประดับ) ดำเนินการที่เรือนเพาะชำกล้าไม้ บริเวณสำนักงานชั่วคราวบ้านผาสุข

2.             เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 20,000 กล้า เพาะชำกล้าไม้โตไวและกล้าไม้อื่นๆ (สนสามใบ, กระถินเทพา, กระทุ่มบก, เมี่ยง) ดำเนินการที่เรือนเพาะชำกล้าไม้ บริเวณสำนักงานชั่วคราวบ้านผาสุก และเรือนเพาะชำกล้าไม้ บริเวณสำนักงานชั่วคราวส่วนขยายบ้านบวกหญ้า ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

3.             เพาะชำกล้าหวาย 30,000 กล้า ดำเนินการที่เรือนเพาะชำกล้าไม้ชั่วคราวทั้ง 2 แห่ง

4.             เพาะชำหญ้าแฝก 100,000 กล้า ดำเนินการที่เรือนเพาะชำกล้าไม้ชั่วคราวทั้ง 2 แห่ง

5.             จัดทำแนวกันไฟ 20 กิโลเมตร ได้ดำเนินการแล้ว ที่บริเวณแปลงปลูกไม้ใช้สอยบ้านบวกหญ้า และได้จัดสรรงบประมาณบางส่วน เพื่อดูและเฝ้าระวังไฟป่าบริเวณรอบพระตำหนักศูนย์ภูฟ้าฯ

6.             จัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 50 แห่ง ได้ดำเนินการบางส่วนในพื้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ และมีพื้นที่เป้าหมายที่ได้สำรวจไว้ บริเวณบ้านนากอก หมู่ที่ 1 ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ

7.             งานปลูกป่าไม้ใช้สอย 100 ไร่ และงานบำรุงป่าไม้ใช้สอย 350 ไร่ อยู่ระหว่างการดำเนินการที่บริเวณแปลงปลูกป่าบ้านบวกหญ้า ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

8.             งานธนาคารอาหารชุมชนและพืชสมุนไพร 1 งาน อยู่ในระหว่างการดำเนินงานในบริเวณพื้นที่แปลงทดลองปลูกไม้ป่าในความรับผิด ชอบของกรมป่าไม้ ในพื้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ เนื้อที่ประมาณ 27 ไร่

9.             งานส่งเสริมการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ 1 งาน - มอบหมายให้พนักงานราชการ จำนวน 15 อัตรา ปฏิบัติงานประจำศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ และพนักงานทุกคน พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ ตามที่ได้รับมอบหมายงาน - ปฏิบัติงานห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ - ปฏิบัติงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มมูลค่าทรัพยากร ธรรมชาติ ให้กับชุมชนบริเวณโดยรอบศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ เช่น ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงเห็ดถุง, การเลี้ยงกบและปลา, การผลิตกระดาษสาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การปลูกพืชในระบบวนเกษตร, การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ เช่นต๋าว ฯลฯ

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740