" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้108
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้169
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้958
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1417
mod_vvisit_counterเดือนนี้3566
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา6251
mod_vvisit_counterทั้งหมด1001473

There are no translations available.

16 แนวทางการปลูกป่า ตามคำพ่อ

1.ปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกแผ้วถางและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม

2.ปลกป่าตามบริเวณอ่างเก็บน้ำหรือเหนืออ่างเก็บน้ำ เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นยาวนานและยั่งยืน

3.ปลุกป่าบนภูเขาสูง เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน รวมทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

4.จำแนกสมรรถนะของที่ดินให้เหมาะสม พื้นที่ใดที่ไม่สามารถทำการเกษตรกรรมได้ให้มีการรักษาสภาพป่าไม้ และให้มีการปลูกป่าโดยใช้ไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ไม้สำหรับใช้สอย ไม้ผล และไม้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง

5.ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมนั้น ความจริงไม่ต้องทำอะไร ป่าก็จะกลับคืนสภาพได้

6.วัชพืชคลุมพื้นที่อยู่อย่าเอาออกเพราะจะเป็นสิ่งป้องกันการเซาะพังทลายของหน้าดินเป็นอย่างดี

7.อย่าใช้ยาฆ่าวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้า เนื่องจากพิษของยาจะตกค้างอยู่ในพื้นดินเป็นเวลานาน

8.ก่อนปลูกป่าจำเป็นต้องกำจัดวัชพืช แต่วัชพืชในป่าเต็งรังในป่าต้นน้ำธารไม่ต้องขจัด

9.ปลูกป่าเสริมธรรมชาติเป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

10.ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร โดยไม่ให้มีผู้บุกรุกเข้าไปตั้งหลักแหล่งใหม่ ป่าก็จะสามารถฟื้นฟูและขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ

11.ในป่าต้นน้ำลำธารไม่ควรให้มีสิ่งปลูกสร้างอะไรทั้งสิ้น

12.ปลูกป่าเพื่อให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของป่าและการปลูกป่า

13.ส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าร่วมในกิจกรรมตั้งแต่ต้น และมีส่วนร่วมให้มากที่สุด

14.การปลูกป่าธรรมชาติหรือปลูกป่าต้นน้ำลำธารควรศึกษาดูก่อนว่าพืชพันธุ์ไม้ดั้งเดิมมีอะไรบ้างแล้วปลูกแซมตามรายการชนิดต้นไม้ที่ศึกษามาได้ ไม่ควรนำไม้แปลกปลอมต่างพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาปลูก

15.การปลูกป่า ควรศึกษาพื้นที่พร้อมระบบเรื่องน้ำด้วย ในพื้นที่ภูเขาควรจะสร้างฝายแม้วหรือ Check Dam เพื่อกักน้ำไว้สร้างความชุ่มชื้นให้ยาวนาน และเป็นระบบกันไฟเปียกด้วย ดังตัวอย่างที่ศูนย์ศึกษาห้วยฮ่องไคร้ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

16.ควรปลูกแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายพร้อมทั้งรักษาหน้าดิน และสร้าง TOP-SOIL เก็บความชุ่มชื้นไว้พร้อมๆ กับการปลูกป่า

 

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740