เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่าน? ลืมชื่อเข้าใช้งาน? ลงทะเบียน  

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้34
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้23
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้113
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา359
mod_vvisit_counterเดือนนี้57
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา1142
mod_vvisit_counterทั้งหมด716102

การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

อ่าน : พระราชบัญญัติสวนป่า พุทธศักราช2535
           การขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้ทราบว่า ที่ดินที่ใด ของผู้ใดได้ดำเนินการ ปลูกต้นไม้ชนิดใด จำนวนเท่าใด และปลูกเมื่อใดเพื่อรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐานและเพื่อทางราชการจะได้ออก หนังสือ รับรองไว้ให้เพื่อเป็นหลัก ฐาน ในการดำเนินกิจการสวนป่า เพื่อการทำไม้ออก และการนำไม้เคลื่อนที่ ตลอดจน การแปรรูปไม้ต่อไปในช่วงเวลาข้างหน้า เป็นการปฏิบัติให้เป็น ไปตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ แก่สุจริตชนผู้ทำสวนป่า นอกเหนือจากเหตุผลทางกฎหมายแล้ว การขึ้นทะเบียนสวนป่าจำเป็น และจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ปลูกอย่างมาก ในแง่ของการสนับสนุนและส่งเสริมของทางราชการ ที่จะให้ความรู้ต่างๆ และข้อมูลในส่วนที่ เกี่ยวข้อง เช่น การปลูกและบำรุงสวนป่า การจัดการสวนป่า การตลาดไม้ การแปรรูปไม้ใช้ประโยชน์ และข่าวสาร ต่างๆ และยังเป็นฐานข้อมูลที่ทางราชการจะได้ ดำเนินการรวบรวม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในการวางแผนส่งเสริม การปลูก การเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้ปลูก ตลอดจนการจัดการป่าเอกชนในภาพรวม ทั้งหมด และจะได้รู้ปริมาณไม้ที่มีอยู่ ในปัจจุบัน และประเมินผลปริมาณไม้ในอนาคต เพื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป
          ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 16 และมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติ สวนป่า พ.ศ.2535 อธิปดีกรมป่าไม้จึงกำหนด " ระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและ การโอนทะเบียนสวนป่า พ.ศ. 2535 ขึ้น ใช้โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
2.1 องค์ประกอบในการขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า
กฎหมายได้กำหนดองค์ประกอบ 3 ประการ ต้องครบถ้วน จึงจะรับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าตาม กฎหมายได้ ดังนี้
           2.1.1 องค์ประกอบที่ 1 คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็น "ผู้ทำสวนป่า" ตามมพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535
มาตรา 3 วรรคหนึ่ง " ที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 5 " ทั้งนี้ตามมาตรา 5 กำหนดไว้ว่า
มาตรา 5 ผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 4 ประสงค์จะใช้ที่ดินนั้น ทำสวนป่าเพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด และเมื่อได้ยื่นคำขอ ขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการไปก่อนได้จนกว่านายทะเบียนจะสั่งรับหรือไม่รับขึ้น ทะเบียนเป็นสวนป่า ตามมาตรา 6 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียน ที่ดินเป็นสวนป่าและที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินตามมาตรา 4(1) ผู้ยื่นคำขอต้องมีหลักฐานการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินดังกล่าว พร้อมทั้งหนังสือยินยอมของ ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองในที่ดินนั้น ที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำสวนป่าได้ หมายความว่า
:- ผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็น "ผู้ทำสวนป่า " ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
           (1) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือผู้มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
           (2) หรือกรณีเป็นผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจะต้องมีสัญญา เช่าหรือสัญญาเช่าซื้อ พร้อมหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่า หรือผู้ให้เช่าซื้อที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำสวนป่าได้
           2.1.2 องค์ประกอบที่ 2 ชนิดไม้ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าได้ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง "เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ " ซึ่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 6 และมาตรา 7 ได้กำหนดไว้ดังนี้
มาตรา 6 ไม้หวงห้ามมีสองประเภท คือ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ได้แก่ ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ ได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้
ประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ได้แก่ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวน ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรี จะได้รับอนุญาตในกรณีพิเศษ
มาตรา 7 ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก. ไม้ชนิด อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาการเพิ่มเติม หรือเพิกถอนชนิดไม้ หรือเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด ไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดไม้ชนิดใด เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดขึ้นในท้องที่ใดนอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดตามความวรรคก่อนแล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกา ซึ่งตราขึ้น ตามความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ใช้ บังคับได้ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมายความว่า :-ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นทะเบียนได้ ให้พิจารณาจากประเภทที่ดิน จึงขอสรุปชนิดพันธุ์ไม้หวงห้าม ดังนี้
           (1) ในที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ไม้หวงห้ามคือ "ไม้สัก และไม้ยาง " เท่านั้น
           (2) ในที่ดินประเภทอื่น นอกเหนือจากข้อ (1) แล้วจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าที่ดินดังกล่าวเป็น "ป่า" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 หรือไม่ และหรือเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
- กรณีไม่เป็น "ป่า " ไม้หวงห้ามคือ " ไม้สักและไม้ยาง " เท่านั้น - กรณีเป็น "ป่า " ไม้หวงห้ามได้แก่ " ไม้สักและไม้ยาง " และชนิดพันธุ์ไม้อีกจำนวน 171 ชนิด ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 (ภาคผนวกที่ 1)
           2.1.3 องค์ประกอบที่ 3 ประเภทที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนได้ตามกฎหมายตามพระราช บัญญัติ สวนป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้กำหนดประเภทที่ดิน ที่จะขอขึ้นทะเบียนสวนป่าไว้ 5 ประเภท ดังนี้ มาตรา 4 ที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นที่ดินประเภทหนึ่งประเภทใด ดังต่อไปนี้
                      (1) ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
                  (2) ที่ดินที่มีหนังสือของทางราชการรับรองว่า ที่ดินดังกล่างอยู่ในระยะเวลาที่อาจรับ โฉนดที่ดินหรือหนังสือ รับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ เนื่องจากได้มีการครอบครองและ เข้าทำกินในที่ดินดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมหรือตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพไว้แล้ว
                      (3) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ มีหลักฐาน การอนุญาต การเช่าหรือเช่าซื้อ
                     (4) ที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติให้บุคคลเข้าทำการ ปลูกป่า ในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม
                      (5) ที่ดินที่ได้ดำเนินการเพื่อการปลูกป่าอยู่แล้วโดยทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงาน อื่นของรัฐ ตามมาตรา 4 ดังกล่าว ประเภทที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนสวนป่าได้นั้นต้องเป็นที่ดินประเภท ตามกฎหมายดัง ต่อไปนี้คือ
           1 . พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 (แก้ไขเพิ่มเติม)
           2 . พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 (แก้ไขเพิ่มเติม)
           3 . พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 (แก้ไขเพิ่มเติม)
           4 . พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 (แก้ไขเพิ่มเติม)
           5 . พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 (แก้ไขเพิ่มเติม)
           6 . ที่ดินของทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
หมายความว่า :- ประเภทที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนสวนป่าได้ คือ
(1) ตามมาตรา 4(1) ที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้แก่
           - โฉนดที่ดิน 6 แบบ คือ น.ส. 4 น.ส.4 ก. ข. ค.ง. จ.
           - โฉนดแผนที่
           - โฉนดตราจอง
           - ตราจองที่ตราว่า " ได้ทำประโยชน์แล้ว"
           - หนังสือรับรองการทำประโยชน์ คือ น.ส. 3 , น.ส. 3 ก,ข แบบหมายเลข 3
(2) ตามมาตรา 4 (2) ที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 และตามพระราชบัญญัติ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ได้แก่
           - หนังสือรับรองของทางราชการ ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
           - หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในนิคมสร้างตนเอง แบบ น.ค. 3
           - หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในนิคมสหกรณ์ แบบ กสน. 5
(3) ตามมาตรา 4(3) ที่ดินตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้แก่
           - หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ แบบ ส.ป.ก. 4 01 ส.ป.ก.4-01 ก. ส.ป.ก.4-01 ข.
           - สัญญาเช่า
           - สัญญาเช่าซื้อ
           - สัญญาค่าชดเชยที่ดิน
(4) ตามมาตรา 4(4) ที่ดินตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ได้แก่
           - หนังสืออนุญาตตามมาตรา 16 ทวิ (2) แบบ สทก. 1 ข
           - หนังสืออนุญาตตามมาตรา 20 แบบ ป.ส. 31
(5) ตามมาตร 4(5) ที่ดินตามมาตรานี้ มิได้กำหนดว่าเป็นที่ดินประเภทใด แต่ต้องเป็นที่ดินของทบวงการเมือง รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งได้ดำเนินการอื่นเพื่อการปลูกป่า จึงอาจเป็นป่า ที่สาธารณะประโยชน์ ที่ราชพัสดุ ดังนั้นการขึ้นทะเบียนให้ ใช้หลักฐานดังนี้
           - โฉนดที่ดิน
           - หนังสือรับรองการทำประโยชน์
           - หรือหลักฐานแสดงการมีสิทธิ์ ใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น
หมายเหตุ : กรณีหลักฐานเอกสารที่ดินประเภทใดก็ตาม ไม่เป็นไปตามนี้ให้ไปดำเนินการขอหลักฐานเอกสารที่ดิน ให้ถูกต้องเสียก่อน เช่น สค 1 หรือ นส.2 ให้ไปขอโฉนดที่ดิน นค. 1 ให้ขอ นค. 3 เป็นต้น แล้วจึงนำหลักฐานที่ดิน ตามกฎหมายมาขอขึ้นทะเบียนสวนป่าต่อไป
2.2 เอกสารและหลักฐานประกอบการขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า
เมื่อประสงค์จะใช้ที่ดินทำสวนป่าเพื่อการค้าและผู้ยื่นคำขอมีองค์ประกอบครบ ถ้วน 3 ประการ ตามข้อ 2.1 แล้ว ให้จัดเตรียมเอก สารและหลักฐานประกอบพร้อมสำเนาดังต่อไปนี้
           1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.1)
           2. หลักฐานของผู้ยื่นคำขอ แนบคำขอ
                      (2.1.1) กรณีเป็นนิติบุคคล
                      - สำเนาบัตรประจำประชาชน ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
                      - สำเนาทะเบียนบ้าน
                      (2.1.2) กรณีเป็นนิติบุคคล ที่มิใช่ทบวงการเมือง หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
                      - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
                      - สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนไว้
                      - สำเนาบัตรประจำตัว และทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการซึ่งเป็นผู้รับผิดแทนนิติบุคคลนั้น
กรณี "ผู้ยื่นคำขอ" มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนในการยื่นคำขอขึ้น ทะเบียน ที่ดินเป็นสวนป่าต้องเตรียม หลักฐานเพิ่มเติมดังนี้ คือ
                      - หนังสือมอบอำนาจ
                    - สำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
                     - สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
                      (2.2) หลักฐานเกี่ยวกับที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียน
                      - สำเนาหลักฐานที่ดิน เพื่อแสดงว่า ที่ดินดังกล่าวผู้ยื่นคำขอ เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิ์ใช้ ประโยชน์ในที่ดินนั้น
                      - หลักฐานการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดิน และหนังสือยินยอมของผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองในที่ดินนั้น ที่แสดงว่าอนุญาตให้ทำสวนป่าได้ (ทั้งนี้เฉพาะที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้น)
                      - แผนที่สังเขป แสดงที่ตั้ง เขตติดต่อและแนวเขตที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า
           3.เอกสารหรือหลักฐานประกอบอื่น ๆ ตามที่ทางราชการแจ้งให้นำส่ง
หมายเหตุ - กรณีที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งมีชื่อร่วมเป็นเจ้าของหลายคน ด้วยกัน ต้องมีหนังสือยินยอมให้ทำสวน ป่าได้ จากเจ้าของร่วมทุกคน
                      - กรณีที่ดินตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 4 (3) ของพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 " หลักฐานการอนุญาต การเช่าหรือเช่าซื้อ " นั้น หมายความถึง การที่หน่วยราชการผู้ดำเนินการจัดที่ดินอนุญาต ให้เช่า หรือให้เช่าซื้อ แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ในที่ดิน จะนำไปอนุญาตให้เช่าหรือเช่าซื้อต่อผู้อื่นมิได้
2.3 สถานที่ยื่นคำขอเพื่อขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและนายทะเบียน
           2.3.1 สถานที่ยื่นคำขอเพื่อขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า เมื่อผู้ประสงค์ปลูกสวนป่าหรือปลูกสวนป่าอยู่แล้วมีความ ประสงค์ที่จะขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าให้ ตรวจสอบ องค์ประกอบ 3 ประการให้ครบถ้วน และจัดเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียน ที่ดินเป็นสวนป่า ให้ถูกต้องและครบถ้วน แล้วยื่นคำขอต่อ
(1) สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อผู้อำนวยการส่วนปลูกป่าภาคเอกชนสำนักส่งเสริม การปลูกป่า กรมป่าไม้ (สถานที่ตั้ง กรมป่าไม้ 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม.) เพื่อเสนอต่อนายทะเบียน
(2) สำหรับท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อนายอำเภอ หรือปลัดผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ เพื่อเสนอต่อนายทะเบียน
           2.3.2 นายทะเบียน ผู้ทำหน้าที่นายทะเบียน คือ
                      (1) สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร คือ อธิบกรมป่าไม้ หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้มอบหมาย
                      (2) สำหรับท้องที่จังหวัดอื่น คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการมอบหมาย
           2.4 ขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและการออกหนังสือรับรองการ ขึ้นทะเบียนที่ดิน เป็นสวนป่า
เมื่อผู้ปลูกสวนป่า มีความประสงค์ที่จะขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า มีองค์ประกอบ 3 ประการครบถ้วน จัดเตรียมเอกสารและ หลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้ยื่นคำขอตามสถานที่กำหนด (ตามข้อ 2.3 ) ซึ่งจะมีขั้นตอนดำเนินการลำดับ ดังนี้
           2.4.1 อำเภอท้องที่ รับคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานประกอบคำขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ คำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอให้ถูกต้องครบถ้วน ใช้เวลาตรวจสอบหนึ่งวันทำการ หากตรวจสอบแล้วเห็นว่า ไม่ถูกต้องให้คืนคำขอพร้อมเอก สารหลักฐานประกอบคำขอแก่ผู้ยื่นคำขอภายในห้าวันทำการ เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
           2.4.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบคำขอถูกต้องครบ ถ้วนแล้ว ให้ลง ทะเบียนรับคำขอตามลำดับก่อนหลังในทะเบียนรับคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวน ป่าตามแบบ สป.2 แล้วให้ อำเภอส่งเรื่องราวคำขอพร้อมเอกสาร หลักฐานประกอบคำขอเสนอจังหวัด ภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
           2.4.3 เมื่อจังหวัดได้รับเรื่องราวคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าแล้วให้ตรวจสอบ ความถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง และพิจารณาเสนอนายทะเบียน เพื่อสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินที่ ขอขึ้น ทะเบียนเป็นสวนป่า ภายใน ห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องราว
           2.4.4 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ตามที่นายทะเบียนสั่ง) ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินที่ขอ ขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า และเสนอผลการตรวจสอบ พร้อมความเห็นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง (ยกเว้น กรณีที่ดินตามมาตรา 4(4) ประ เภทที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ให้นายทะเบียนสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบ และทำรายงานเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ตาม "ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการตรวจสอบที่ดินที่มีหนังสืออนุญาต ตาม กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ให้บุคคลเข้าทำการปลูกป่าในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ หรือเข้าทำการปลูก สร้างสวนป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรม ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า พ.ศ. 2535 " และรายงานผล การตรวจสอบต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง)
           2.4.5 นายทะเบียนแจ้งการสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าให้ผู้ยื่น คำขอทราบภายในสิบห้าวัน ทำการ นับแต่วันที่อำเภอท้องที่ได้รับคำขอ หรือได้รับรายงานผลการตรวจสอบกรณีที่ดินตามมาตรา 4(4) แล้วแต่กรณี โดยให้จัดทำเป็นหนังสือแจ้ง การสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและจัดส่งให้ผู้ยื่นคำขอ ทราบ ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับหรือกรณีผู้ยื่นคำขอมารับหนังสือเอง ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับทราบต่อท้ายสำเนาคู่ฉบับหนังสือนั้น
           2.4.6 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งคำสั่งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวน ป่าไว้ในทะเบียนรับคำขอ ตามแบบ สป.2
           2.4.7 กรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ให้ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธร์ต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งดังกล่าว " คำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ให้เป็นที่สุด"
           2.4.8 นายทะเบียน ออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ตามแบบ สป.3 "หากมีเงื่อนไขที่ นายทะเบียนเห็นควรกำหนดให้ผู้ทำสวนป่าปฎิบัติเพิ่มเติมให้ระบุไว้ในเงื่อนไข แนบท้ายหนังสือรับรอง " แล้วมอบ สป.3 ให้ผู้ทำสวนป่า เพื่อเก็บไว้ใช้เป็น หลักฐาน
           2.4.9 เมื่อนายทะเบียนออก สป.3 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงรายละเอียดการขึ้นทะเบียนไว้ใน ทะเบียนหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า ตามแบบ สป . 4 เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานของทางราชการต่อไป และให้สำเนาเรื่องราวทั้ง หมดส่งป่าไม้เขตท้องที่และกรมป่าไม้ทราบ
 
สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 2 (เชียงราย) 798 ถ.สิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000
โทรศัพท์/โทรสาร : (053)-711 445