เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่าน? ลืมชื่อเข้าใช้งาน? ลงทะเบียน  
กลุ่มปัญหาภูมิอากาศ PDF พิมพ์ อีเมล
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2011 เวลา 07:%M




อนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United National Framework Convention on Climate Change : UNFCCC)
1. จัดตั้งส่วนอนุสัญญาและพันธกรณีระหว่างประเทศ สังกัดสำนักความร่วมมือด้านการป่าไม้ระหว่างประเทศ เพื่อรับผิดชอบงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2. ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญา UNFCCC
3. จัดฝึกอบรมการเก็บข้อมูลด้านความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุมชนในภาคต่างๆ ของประเทศไทย ดำเนินการโดยสำนักจัดการป่าชุมชน
4. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำฐานข้อมูล (Database) ก๊าซเรือนกระจก จัดโดยสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน REDD+ เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในระดับหัวหน้าหน่วยงานพื้นที่ โดยความร่วมมือกับ RECOFTC (Center for People and Forest)
6. จัดทำแผนที่ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้ (Carbon stock map) ดำเนินการโดยสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ และสำนักวิจัยและพัฒนาด้านการป่าไม้
7. จัดตั้งกองทุนระวังและป้องกันไฟป่าโดยชุมชน เพื่อลดปัญหาการเกิดไฟป่าที่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในอากาศ ดำเนินการโดยสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า
8. ดำเนินการศึกษาวิจัยในด้านที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุมชนในภาคต่างๆ ของประเทศไทย ดำเนินการโดยสำนักจัดการป่าชุมชน
9. จัดตั้งคณะทำงาน (Task force) เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการและแผนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจกในภาคการป่าไม้
10. จัดทำโครงการ Voluntary Carbon Market (VCM) ภายใต้การสนับสนุนของ FAO โดยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ VCM เมื่อเดือนสิงหาคม 2554
11. ได้เข้าร่วมจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่มีผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานของ ASEAN Social Forestry Network (ASFN) โดยสามารถกำหนดกรอบการดำเนินกิจกรรมในภาพรวมภายใต้หัวข้อ ASEAN Multi-Sectoral Framework on Climate Change: Agricultural and Forestry Towards Food Security (AFCC)
12. สำนักจัดการป่าชุมชน ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาป่าในเมือง (Urban forestry)เพื่อลดสภาวะโลกร้อน โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินการจัดสร้างสวนสาธารณะในระดับชุมชน (Community park) และระดับสวนละแวกบ้าน (Neighboring park) เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเมือง ซึ่งกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 10 ตารางเมตรต่อคนตามมาตรฐานที่กำหนดโดย FAO
13. ได้เข้าร่วมจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management- SFM) ร่วมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานของ ASEAN Social Forestry Network โดยสามารถกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินกิจกรรมในภาพรวมสำหรับการประสานงานและเครือข่าย (Communication and Networking Strategy) เพื่อกำหนดกิจกรรมร่วมกันในการบรรลุถึง SFM ในอนาคต อันเป็นกิจกรรมหนึ่งเพื่อรองรับ REDD+ ในอนาคต ดำเนินการโดยสำนักจัดการป่าชุมชน

http://unfccc.int/2860.php