เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่าน? ลืมชื่อเข้าใช้งาน? ลงทะเบียน  
ASEAN Socio-Cultural Community PDF พิมพ์ อีเมล
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2011 เวลา 07:%M

การดำเนินงานตามแผนงานจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
(ASEAN Socio-Cultural Community)
ภายใต้การดำเนินงานของ กรมป่าไม้

ประเด็น Environmental Sustainability (Climate change, Tran boundary, Environmentally SustainabilityCity)

 

 

หัวข้อ

สถานะการดำเนินงาน

ประเด็นประสงค์จะเสนอผลักดัน

Addressing climate change issue

ได้เข้าร่วมจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่มีผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานของ ASEAN Social Forestry Network (ASFN) โดยสามารถกำหนดกรอบการดำเนินกิจกรรมในภาพรวมภายใต้หัวข้อ ASEAN Multi-Sectoral Framework on Climate Change: Agricultural and Forestry Towards Food Security

 

กำหนดให้เป็นแผนกิจกรรมหลักของกิจกรรมส่งเสริม
วนศาสตร์ชุมชนของประเทศสมาชิกของ
ASEAN โดยกำหนดเป็นแผนการในระยะปานกลางและระยะยาว โดยกำหนดให้มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2558 (2015)

Promoting Sustainable Development through environmental education and public participation

กรมป่าไม้ ได้ดำเนินกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องในขณะนี้ ดังนี้

1. กิจกรรมการสร้างความตระหนัก (Awareness enhancement) โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพ (Capacity building) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในระดับต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคธุรกิจ สถานศึกษา ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และอื่นๆ ในรูปแบบของการฝึกอบรมให้ความรู้ การประชุม สัมมนา และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (Networking) การถ่ายทอดผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ตลอดจนสร้างกระบวนการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) เพื่อถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายต่อไป โดยมีผู้ผ่านกระบวนการดังกล่าวไม่น้อยกว่าปีละ 3,000 คน ทั่วประเทศ

2. กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชน (Community forestry promotion) โดยการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ทรัพยากร ได้มีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในรูปแบบของป่าชุมชน (Community forest) ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2542 จนถึงขณะนี้ มีการจัดตั้งป่าชุมชนตามแนวทางของกรมป่าไม้ไปแล้ว เป็นจำนวน 8,069 แห่งทั่วประเทศ

3. กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาป่าในเมือง (Urban forestry) เพื่อลดสภาวะโลกร้อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมือง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นมา  จนถึงขณะนี้ ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นจำนวน 312 แห่งทั่วประเทศ

3. โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ร่วมกับพระสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ โดยการสนับสนุนให้วัด สำนักสงฆ์ และที่พักสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 จนถึงขณะนี้ มีวัด สำนักสงฆ์ และที่พักสงฆ์เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 4,743 แห่งทั่วประเทศ

 

1.  เนื่องจากประเทศไทยมีบทบาทที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงถึงความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการป่าชุมชน จึงควรผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ในการจัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และการประชุมในระดับภูมิภาคและนานาชาติในด้านการจัดการป่าชุมชน

2. ประเทศในภูมิอาเซียน ควรร่วมมือกันในการกำหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในระดับภูมิภาค รวมถึงการแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติต่างๆ ในลักษณะของกลุ่มประเทศอาเซียน มากกว่าการแยกส่วนดำเนินการเป็นรายประเทศเช่นที่ผ่านมา

Promoting Environmental Sound Technology

กรมป่าไม้ ได้ดำเนินกิจกรรมการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local knowledge) ซึ่งจะถูกนำไปเผยแพร่ และเก็บไว้ในฐานการจัดการความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละภูมิภาคต่อไป เนื่องจากกิจกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่  มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

 

ควรสนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพ ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่ามากขึ้น ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่เหมาะสมในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติต่อไป

Promoting quality living standards
in ASEAN cities/urban areas

กรมป่าไม้ ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาป่าในเมือง (Urban forestry) เพื่อลดสภาวะโลกร้อน โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินการจัดสร้างสวนสาธารณะในระดับชุมชน (Community park) และระดับสวนละแวกบ้าน (Neighboring park) เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเมือง ซึ่งกำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 10 ตารางเมตรต่อคนตามมาตรฐานที่กำหนดโดย FAO

 

สนับสนุนการพัฒนาการจัดการป่าไม้ในเมือง (Urban forestry management) โดยการแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กร/ประเทศ ที่มีรูปแบบการจัดการที่โดดเด่น

Harmonizing environmental policies and database

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 56, 79 และ 290 กำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น และมาตรา 59 ซึ่งระบุถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ ดังนั้น นอกเหนือไปจากการจัดทำโครงการด้านการจัดการป่าชุมชนในรูปแบบต่างๆ แล้ว สำนักจัดการป่าชุมชนยังได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังต่อไปนี้

1. กรมป่าไม้ ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลด้านป่าชุมชนแล้วเสร็จจำนวน 8,069 แห่ง ทั่วประเทศ โดยสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลดังกล่าวได้ที่ www.forest.go.th

2. กรมป่าไม้ได้ประสานงานกับสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ป่าชุมชน โดยอ้างอิงภาพถ่ายทางอากาศออร์โธสี มาตราส่วน 1:4,000 ปัจจุบันจัดพิมพ์เป็นหนังสือแสดงโครงการ
ป่าชุมชนไปแล้ว
1,643 แปลง 

 

ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาฐานข้อมูลด้านทรัพยากร
ป่าไม้โดยใช้รูปแบบ
(Format) เดียวกันสำหรับภูมิภาคอาเซียน เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น

Promoting the sustainable use of costal and marine environment

กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งป่าชุมชนเป็นจำนวนมากกว่า 200 แห่ง ทั่วประเทศ ในพื้นที่บริเวณป่าชายเลน โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนควบคู่ไปด้วย

สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสำหรับกลุ่มประเทศที่มีประสบการณ์ในด้านนี้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น

Promoting Sustainable Management of Natural Resources and Biodiversity

กรมป่าไม้ ได้ดำเนินกิจกรรมการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยผ่านกิจกรรมหลักภายใต้การส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน บนพื้นฐานข้อตกลงของอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biodiversity-CBD)

ส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม โดยผ่านองค์กรที่เป็นทางการ (Official body) ของ ASEAN

 

Responding to Climate Change and addressing its impacts

1. ได้เข้าร่วมจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่มีผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่พึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานของ ASEAN Social Forestry Network โดยสามารถกำหนดกรอบการดำเนินกิจกรรมในภาพรวมภายใต้หัวข้อ ASEAN Multi-Sectoral Framework on Climate Change: Agricultural and Forestry Towards Food Security

2. ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อม (Readiness) สำหรับเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักจัดการป่าชุมชน เพื่อรองรับกลไก Reducing Emission on Deforestation and Degradation in developing countries – REDD+) ที่จะดำเนินการในอนาคต

 

กำหนดให้เป็นแผนกิจกรรมหลักของกิจกรรมส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชนของประเทศสมาชิกของ ASEAN โดยกำหนดเป็นแผนการในระยะปานกลางและระยะยาว โดยกำหนดให้มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2558 (2015)

Promoting Sustainable Forest Management (SFM)

1. กรมป่าไม้ ได้เข้าร่วมจัดทำแผนงานเพื่อรองรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management- SFM) ร่วมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การดำเนินงานของ ASEAN Social Forestry Network โดยสามารถกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การดำเนินกิจกรรมในภาพรวมสำหรับการประสานงานและเครือข่าย (Communication and Networking Strategy) เพื่อกำหนดกิจกรรมร่วมกันในการบรรลุถึง SFM ในอนาคต

2. อยู่ในระหว่างการจัดเตรียมการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัด (Criteria & Indicator- C&I) สำหรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนขององค์การป่าไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (International Timber Trade Organization –ITTO)

 

กำหนดให้เป็นแผนกิจกรรมหลักของกิจกรรมส่งเสริมวนศาสตร์ชุมชนของประเทศสมาชิกของ ASEAN โดยกำหนดเป็นแผนการในระยะปานกลางและระยะยาว โดยกำหนดให้มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2558 (2015)

Promoting Tran boundary program

กรมป่าไม้ ได้เข้าร่วมโครงการในฐานะหน่วยงานหลัก (Focal point) ในการดำเนินโครงการ Management of the Emerald Triangle Protected Forest Complex to Promote Cooperation for Trans-boundary Biodiversity Conservation between Thailand, Cambodia and Lao PDR (Phase I และ II) สนับสนุนโดย International Timber Trade Organization (ITTO) ซึ่งใน Phase II ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2554 ที่ผ่านมา และอยู่ในระหว่างเตรียมการเพื่อจัดทำโครงการใน Phase III ต่อไป

 

 

ผลสำเร็จที่น่าพอใจในการดำเนินโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพข้ามเขตแดน สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบ (Model) ในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่อื่นต่อไป ทั้งนี้ ควรสนับสนุนการดำเนินโครงการในลักษณะเช่นนี้สำหรับประเทศอื่นๆ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย เช่น สหภาพพม่า ลาว และมาเลเซีย ต่อไป