เข้าสู่ระบบ

ลืมรหัสผ่าน? ลืมชื่อเข้าใช้งาน? ลงทะเบียน  
การประชุม Special SOM-33rd AMAF PDF พิมพ์ อีเมล
วันศุกร์ที่ 27 กรกฏาคม 2012 เวลา 07:%M
สรุปการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 33 สมัยพิเศษ
และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 สมัยพิเศษ
                         1.   การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 33 สมัยพิเศษ(Special SOM-33rd AMAF) ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2555
                                1.1 ที่ประชุมรับทราบผลการทบทวนการดำเนินงานในช่วงกลางของแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Mid-Term Review on the Implementation of AEC Blueprint) ของ Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) และเห็นว่าเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าจะสามารถจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ได้หรือไม่ และเห็นว่า ERIAควรให้ข้อเสนอแนะว่าทำอย่างไร SOM-AMAF จึงจะสามารถดำเนินความร่วมมือด้านการเกษตรและป่าไม้ให้ก้าวหน้ามากกว่านี้
                                1.2 ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Integrated food Security-(AIFS) Framework) และแผนกลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (Strategic plan of Action on Food Security: SPA-FS) รวมทั้งการสนับสนุนจากคู่เจรจาต่างๆ และเห็นควรเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 34 ทราบและพิจารณาให้คำแนะนำในการดำเนินงาน
                                1.3 ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำ TOR ของ ASEAN SPS Contact Point (ASCP) ภายใต้ AMAF ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับด้าน SPS ในเวทีต่างๆ รวมทั้งการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
                                1.4 ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านอาหาร (ความมั่นคงด้านอาหาร Food Handing และความปลอดภัยด้านอาหาร) ด้านการเกษตร (พืช ปศุสัตว์ ประมง สหกรณ์การเกษตร การส่งเสริมและฝึกอบรมด้านการเกษตร) ด้านป่าไม้ และด้านการค้าสินค้าเกษตรและผลิตผลป่าไม้ โดยมีสาขาที่ไทยในฐานะประธานที่ประชุมได้รายงานต่อที่ประชุม ได้แก่ ผลการประชุม ASEAN Task Force on Codex ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2555 ณ กรุงเทพฯ
                                1.5 ประชุมรับทราบความก้าวหน้าเกี่ยวกับโครงการริเริ่มของรัฐสมาชิกอาเซียนด้านอาหาร การเกษตร และป่าไม้ ซึ่งมีโครงการริเริ่มที่ไทยเป็น Lead Country ได้แก่
                                                1) เครือข่ายกลางอาเซียนด้านความปลอดภัยอาหาร (Thailand’s Initiative on the ASEAN Food Safety Network) ที่ประชุมสนับสนุนให้รัฐสมาชิกอาเซียนใช้เครือข่ายกลางของอาเซียนด้านความปลอดภัยอาหารเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความปลอดภัยอาหารให้มากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประชาคมอาเซียนในปี 2558
                                                2) ระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์ของอาเซียน (Thailand Initiative on the ASEAN Rapid Alert System for food and feed - ARASFF) ที่ประชุมให้ความเห็นชอบ TOR ของ ARASFF Steering Committeeและขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมอบหมายผู้แทนเป็น Steering Committee ดังกล่าว โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Steering Committee ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานของ ARASFF
                                                3) โครงการริเริ่มด้านการวิจัยและพัฒนาหม่อนไหมในอาเซียน (Thailand’s Initiative on the Collaboration of ASEAN Research and Development in Sericulture)ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของไทยที่ให้มีการจัดตั้ง ASEAN Sericulture Working Group โดยมอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนพิจารณาว่า ภายใต้ ASEAN Sectoral Working Group ที่มีอยู่ได้หรือไม่ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทบทวนองค์ (subsidiary bodies) ภายใต้ AMAF ทั้งในด้าน TOR นโยบายและมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก AMAF แล้วรายงานปลให้ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM-AMAF) ทราบและพิจารณา
                                1.6 ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าของความร่วมมือด้านอาหาร การเกษตร และป่าไม้ กับคู่เจรจา องค์การระหว่างประเทศ และคู่เจรจาอื่นๆ ได้แก่ อาเซียน-ออสเตรเลีย อาเซียน-แคนาดา อาเซียน-จีน อาเซียน-GCC อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียน-รัสเซีย อาเซียน-US ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ อาทิ การเห็นชอบให้จัด ASEAN India Ministerial Meeting ต่อเนื่อง (back-to-back) กับการประชุม AMAF ครั้งที่ 34 ในเดือนกันยายน 2555 ที่สำคัญ อาทิ
                                                1) อาเซียน-จีน ที่ประชุมให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอาเซียน-จีน ด้านอาหาร การเกษตร และป่าไม้ โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนจะเวียนร่าง MOU ฉบับสุดท้ายมาให้ประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินการตามขั้นตอนภายในประเทศ เพื่อให้มีการลงนามในร่าง MOU นี้ ต่อไป และฝ่ายจีนจะเวียนร่างแผนงานและกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีแรกให้ประเทศสมาชิกพิจารณา เพื่อเสนอให้ที่ประชุม PrepSOM-34th  AMAF พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN China SPS Contact Points ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 และการประชุม ASEAN China Ministerial Meeting on Quality Supervision, Inspection and Quarantine (SPS Cooperation) ครั้งที่ 3 ในวันที่ 20 กันยายน 2555 ณ เมืองหนานหนิง
                                                2) อาเซียน-GCC สาธารณรัฐอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม อาเซียน-GCC Working Group on Food Security and Agricultural Investment ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2555 ณ เมืองปาดัง
                                                3) อาเซียน-อินเดีย ฝ่ายอินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัด ASEAN India Ministerial Meeting on Agriculture and Forestry (AIMMAF) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2555 ณ กรุงนิวเดลี โดยจะจัดพร้อมกับงาน ASEAN-India Agri Expo รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเกษตรกรของอาเซียนและอินเดีย
                         2. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 สมัยพิเศษ
                                2.1 ร่าง ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) ที่ประชุมรับทราบว่าปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย กัมพูชา สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศบวกสาม 1 ประเทศ คือ ญี่ปุ่นได้ยื่นสัตยาบันสารความตกลง APTERR แล้ว ซึ่งจะทำให้ความตกลงนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 และขอให้ประเทศสมาชิกที่เหลือเร่งให้สัตยาบันความตกลงฯ นี้ รวมทั้งแต่งตั้งผู้แทนร่วมเป็น APTERR Council นอกจากนี้ยังได้รับทราบข้อเสนอของไทยที่จะเป็นที่ตั้งสำนักเลขานุการ APTERR โดยให้จัดทำข้อเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุม AMAF Plus Three ครั้งที่ 12 ในวันที่ 28 กันยายน 2555 ต่อไป
                                2.2 โครงการระบบสารสนเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหารแห่งภาคพื้นอาเซียน (ASEAN Food Security Information System-AFSIS) ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมในปี 2555 รวมทั้งการจัดตั้ง AFSIS เป็นองค์กรถาวรในปี 2556 นอกจากนี้ยังให้ความเห็นชอบในหลักการต่อร่าง TOR และ Rules of Procedures รวมทั้งแผนการดำเนินงานระหว่างปี 2556-2558
                         3. การประชุมครั้งต่อไป
                                3.1 การประชุม Special SOM-34th AMAF และการประชุม Special SOM-12th AMAF Plus Three จะจัดขึ้น ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปี 2556
                                3.2 เอกสารที่จะเสนอต่อที่ประชุม 34th AMAF ในวันที่ 24-29 กันยายน 2555 เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบ (For Endorsement) ได้แก่
                                                1) ค่าสารพิษตกค้างสูงสุดของอาเซียน (ค่า MRLs) สำหรับสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มเติมอีก 9 ชนิด (Pesticides) รวม 12 ค่า (MRLs) ได้แก่ 1) beta-cyfluthrin ในกะหล่ำปลี 2) triazophos ในถั่วเหลืองและถั่วฝักยาว 3) lambda cyhalothrin ในกระเจี๊ยบเขียวและส้ม 4) imidacloprid ในกระเจี๊ยบเขียว 5) profenofos ในส้มโอ 6) cypermethrin ในทับทิม 7) chlorpyrifos ในพริก 8) metalaxyl ในสับปะรด และ 9) thiamethoxam ในส้ม เพื่อให้ความเห็นชอบ
                                                2) ร่างมาตรฐานพืชสวนของอาเซียน 5 ชนิด ได้แก่ 1) Wax apple 2) Chico (Sapodilla) 3)มะเขือยาว 4) ฟักทอง 5) ข้าวโพดหวาน เพื่อให้ความเห็นชอบ
                                                3) มาตรฐานมะม่วง สับปะรด กล้วย และทุเรียน ฉบับปรับปรุง
                                                4) แนวทางปฏิบัติและรายการตรวจเช็คสำหรับ ASEAN Nursery Certification Scheme for Export (Guideline and Audit Check list for ASEAN Nursery Certification Scheme for export)