There are no translations available.

โครงสร้างส่วนเพาะชำกล้าไม้
 
ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่  4739/2551  ลงวันที่  19  พฤศจิกายน  2551


1.  ฝ่ายบริหารทั่วไป  
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ  งานธุรการทั่วไป  งานการเงินบัญชีและพัสดุ งานการเจ้าหน้าที่ ครุภัณฑ์และยานพาหนะ ของส่วนเพาะชำกล้าไม้ และปฏิบัติงาน     ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย แบ่งเป็น 3 งาน คือ
1)    งานธุรการ
2)    งานการเงินบัญชีและพัสดุ
3)    งานการเจ้าหน้าที่


2.  ฝ่ายวางแผนการผลิตกล้าไม้  มีหน้าที่รับผิดชอบ
1)    วางแผนและกำหนดเป้าหมายในการเพาะชำกล้าไม้และจัดเตรียมกล้าไม้เพื่อสนับสนุนส่วนราชการองค์กรต่าง ๆ
2)    จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณในการผลิตกล้าไม้ประจำปี
3)    ควบคุมการจัดเตรียมและจัดทำกล้าไม้ทุกรูปแบบ รวมทั้งตามแนวนโยบาย
4)    ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้แก่ทุกองค์กรรวมภาครัฐ เอกชน และประชาชนผู้สนใจ
5)    ประสานแผนงานการเพาะชำกล้าไม้กับหน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ
6)    รวบรวมข้อมูลสถิติความต้องการกล้าไม้และข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนการผลิตกล้าไม้
7)    ศึกษา วิเคราะห์หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อนำมากำหนดเป้าหมายในการผลิตกล้าไม้
8)    ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


3.  ฝ่ายพัฒนากล้าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ
1)    วางแผนและกำหนดเป้าหมายในการจัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้ที่มีคุณภาพดี และปรับปรุงพันธุ์ไม้
2)    จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณการจัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งผลิตเมล็ดไม้ที่ได้มาตรฐาน
3)    จัดทำทะเบียนและรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ไม้ภาคต่าง ๆ
4)    จัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้  เพื่อแจกจ่ายแก่ศูนย์เพาะชำกล้าไม้  สวนป่า  หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
5)    ตรวจสอบ ควบคุม คุณภาพเมล็ดพันธุ์ไม้และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไม้เพื่อสนับสนุนแก่ภาครัฐและประชาชน
6)    พิจารณาแก้ไขปัญหาอุปสรรคและประสานแผนการจัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้กับศูนฺย์เพาะชำกล้าไม้ สวนป่า หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
7)    กำหนดและพัฒนาการผลิตกล้าไม้รูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนคิดค้นรูปแบบต่าง ๆ มาทดลองใช้ในระบบงานเพื่อที่จะให้ได้วิธีที่ดีที่สุด และคุ้มค่าที่สุดในการผลิตกล้าไม้แต่ละชนิด
8)    จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณในการศึกษาค้นคว้าทดลองและพัฒนาการผลิตกล้าไม้ในรูปแบบที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับกล้าไม้แต่ละชนิด
9)    พัฒนาและส่งเสริมวิธีการขยายพันธุ์ไม้โดยวิธีการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น  การตอน  ปักชำ  ติดตา  และวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
10)  ประสานงานและร่วมมือกับองค์กรทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศด้านการเงินและงบประมาณ ตลอดจนอุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญและความร่วมมือทางวิชาการ ตามโครงการความช่วยเหลือและโครงการพิเศษเฉพาะพื้นที่ เพื่อพัฒนางานเพาะชำกล้าไม้
11)  พัฒนาคุณภาพกล้าไม้ให้มีมาตรฐาน
12)  ปฏิบัติงานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย


4.  ฝ่ายติดตามและประเมินผล   
 มีหน้าที่รับผิดชอบ
1)    กำหนดแผนงานด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกต้นไม้
2)    ประสานงานและรวมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนกล้าไม้
3)    ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการเพาะชำกล้าไม้เพื่อจัดทำรายงาน
4)    รวบรวมแผนการดำเนินงานและงบประมาณในการผลิตกล้าไม้
5)    รวบรวมผลการดำเนินงานเพาะชำกล้าไม้ ของทุกหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ แล้วทำการรายงานผู้บังคับบัญชาตามระเบียบกรมป่าไม้ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
6)    ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน   โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่น  ให้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพาะชำกล้าไม้ในท้องที่ แล้วนำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชา
7)    ทำการรวบรวมจัดทำเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีทีได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามกิจกรรมเพาะชำกล้าไม้   แล้วเผยแพร่ผลงานดังกล่าวให้หน่วยงานต่าง ๆ    ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
8)    ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


5. ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ (จำนวน 14 ศูนย์)/โครงการพัฒนาป่าไม้ทุ่งกุลาร้องไห้ (จำนวน 2 โครงการ)/สถานีเพาะชำกล้าไม้ (จำนวน 4 แห่ง)
มีหน้าที่รับผิดชอบ
1)    ศึกษาเชิงปฏิบัติการเพื่อขยายผลงานวิจัย  หาเทคนิคการเพาะชำกล้าไม้ การปลูกป่า  การทดสอบชนิดไม้ เพื่อค้นหาชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับการปลูกสร้างสวนป่าในท้องถิ่นพื้นที่รับผิดชอบ
2)    ผลิตกล้าไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจบางชนิดที่คุณภาพทางพันธุกรรมดี สนับสนุนโครงการปลูกป่าภาครัฐ เอกชน ตลอดจนแจกจ่ายกล้าไม้ให้กับวัด โรเรียน ในพื้นที่เป้าหมายและประชาชนทั่วไป
3)    เป็นหน่วยส่งเสริม เผยแพร่ และฝึกอบรมเทคโนโลยีด้านการเพาะชำกล้าไม้ การขยายพันธ์ไม้  และการปลูกป่า
4)    เป็นหน่วยปฏิบัติในการสำรวจแหล่งผลิตเมล็ดไม้ และประสานงานจัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ
5)    เป็นหน่วยปฏิบัติในการจัดสร้างสวนผลิตกิ่งพันธุ์ไม้สายพันธุ์ดี
6)    เป็นหน่วยงานในการประสานงานในด้านวิชาการและเทคนิควิธี  รวมทั้งการสนับสนุนกล้าไม้ให้กับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน   พร้อมจัดทำระบบเครือข่าย เพื่อให้การส่งเสริมการปลูกป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7)    ให้ข้อมูล   แนะนำ   ตลอดจนพิจารณาปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของการปลูกต้นไม้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
8)    เป็นหน่วยงานในการประชาสัมพันธ์ด้านป่าไม้เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้และการปลูกป่าโดยจัดหน่วยส่งเสริมการเพาะชำกล้าไม้เคลื่อนที่เพื่อการสาธิตและจัดทำแปลงสาธิตในรูปแบบต่าง ๆ