" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้106
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้104
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้210
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1253
mod_vvisit_counterเดือนนี้999
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา4261
mod_vvisit_counterทั้งหมด1003167

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
There are no translations available.

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร)  ได้มาประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราช ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา และเห็นชอบที่จะให้การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาโดยเน้นการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์  และสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ โดยให้มีการจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินงานต่อไป

คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงมหาดไทย  และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ส่วนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ในระยะยาว ให้เป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยยึดหลักการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ให้สามารถคืนความอุดมสมบูรณ์และเป็นพื้นที่ที่ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข  รวมทั้งสามารถรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว  อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

คณะรัฐมนตรีได้มีมติ  เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545  เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  ภายใต้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน  โดยมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธาน  ผู้แทนส่วนราชการ  ผู้ทรงคุณวุฒิ  และผู้แทนภาคประชาชน  เป็นกรรมการ  และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากสภาพปัญหาการถูกบุกรุกทำลายป่าไม้ในเขตป่าต้นน้ำของพื้นที่ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินจากผืนป่าสมบูรณ์                  ให้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สวนยางพารา จนเกิดการลดลงของผืนป่าต้นน้ำอย่างรวดเร็ว  และต่อเนื่อง  และนับจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเดิมจนอยู่ในสภาวะวิกฤติ การพัดพาพังทลายของดินเลื่อนไหล (Landslide) จากเขตต้นน้ำลงสู่พื้นที่กลางฝั่ง และปลายน้ำ  ทับทวียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังส่งผลกระทบ ต่อการกักเก็บปริมาณน้ำดิบจากป่าธรรมชาติในเขตต้นน้ำกรมป่าไม้จึงได้จัดทำโครงการ “เชิงรุก” เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้ามามีบทบาทในการร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน โดยน้อมนำแนว พระราชดำริและพระราชเสาวนีย์มาใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของโครงการนี้

จังหวัดสงขลา  มีพื้นที่ซึ่งจัดอยู่ในเขตลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา รวม 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง หาดใหญ่ สะเดา รัตภูมิ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร กระแสสินธุ์  ควนเนียง นาหม่อม บางกล่ำ คลองหอยโข่ง และมีลุ่มน้ำย่อยสำคัญ ๆ ได้แก่ ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา, ลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ, ลุ่มน้ำคาบสมุทรสทิงพระ และพื้นที่ทะเลสาบ รวมสายน้ำประมาณ 40 สาย

จังหวัดสงขลา  มีป่าสงวนแห่งชาติ 41 ป่า เนื้อที่รวม 1,256,669.25 ไร่  แต่จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2548 มีพื้นที่ป่าไม้ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์เหลืออยู่   เพียง 513,687.5 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.96 ของเนื้อที่จังหวัด  ก่อให้เกิดการ  พังทลาย และตะกอนไหลลงในทะเลสาบในปริมาณที่สูงต่อปี ฯลฯ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม  ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
  2. เพิ่มพื้นที่สีเขียวของจังหวัดสงขลา เพื่อเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ป้องกันอุทกภัยภัยแล้ง และการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และแก้ไขปัญหาการตื้นเขินจาก ตะกอนดิน ทั้งแหล่งต้นน้ำ  กลางน้ำ  และปลายน้ำ  โดยวิธีธรรมชาติ
  3. เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กร เอกชนและภาคประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือที่ดี จากชุมชนท้องถิ่น

วิธีดำเนินงาน/เป้าหมาย

  1. ส่งเสริม สร้างจิตสำนึก และสนับสนุนจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครรักษ์ป่า และสร้างพื้นที่สีเขียวของหมู่บ้านในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จำนวน 16 หมู่บ้าน/ปี
  2. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ความรู้ควบคู่กับการสำรวจข้อมูลในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานและดำเนินงาน
  3. จัดฝึกอบรมกลุ่มผู้นำองค์กร/เยาวชนของหมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อเป็นแกนนำดำเนินงานรวม 2 รุ่น ๆ ละ 80 คน
  4. เพาะชำกล้าไม้ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวใน แต่ละหมู่บ้านเป้าหมายไม่น้อยกว่า 7,000 ต้น
  5. จัดทำฝายต้นน้ำลำธารตามแนวพระราชดำริในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
  6. จัดการประกวดผลงานหมู่บ้านสีเขียวดีเด่น
  7. ประเมินผลและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 

  1. ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดสงขลาได้รับการฟื้นฟูอนุรักษ์ และพัฒนา สภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นตลอดจนแหล่งน้ำในทะเลสาบสงขลาได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และมีคุณภาพดีขึ้น
  2. แก้ไขปัญหาการพังทลายของดินและการไหลพัดพาตะกอนลงสู่ทะเลสาบสงขลา ตลอดจนแหล่งน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาลดลงเนื่องจากการปลูกต้นไม้ยึดหน้าดิน
  3. สามารถแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำ ดิน ป่าไม้ อย่างยั่งยืน
  4. ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาแม่น้ำ คูคลอง ทำให้ราษฎรในพื้นที่เป้าหมายมีคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจดีขึ้น
  5. ราษฎรมีจิตสำนึกและเกิดการมีส่วนร่วมของราษฎรในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างองค์กรลงได้
  6. ก่อให้เกิดอาสาสมัครคอยเฝ้าระวังดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเองและเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายหมู่บ้านสีเขียวต่อไป
     



 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740