" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้244
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้104
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้524
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1166
mod_vvisit_counterเดือนนี้1137
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา4261
mod_vvisit_counterทั้งหมด1003305

โครงการฟาร์มตัวอย่างป่าอาหารชุมชน บ้านโคกสว่าง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม
There are no translations available.

โครงการฟาร์มตัวอย่างป่าอาหารชุมชน บ้านโคกสว่าง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเยี่ยมราษฎร บ้านวังกะเบา ตำบลโคกสว่าง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการช่วยเหลือราษฎร หลายโครงการ เช่นการขุดลอกห้วยเพื่อเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร การจัดตั้งฟาร์มตัวอย่างเพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดสารพิษให้ราษฎรได้มีพืชผักอาหารบริโภคในราคาถูก ช่วยให้ราษฎรที่ว่างงานได้มีงานทำในเบื้องต้น โดยการมาทำงานในฟาร์ม เป็นการฝึกการเรียนรู้และช่วยสร้างอาชีพให้แก่ชุมชน ให้รู้จักการผลิตอาหารโดยเน้นการไม่ใช้สารพิษ หรือยาฆ่าแมลง เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้การทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการและนำไปขยายผลทำเองในที่ดินของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในพื้นที่สาธารณะบ้านโคกสว่าง หมู่ 1 และ หมู่ 8 ซึ่งมีสภาพเป็นป่าธรรมชาติดั้งเดิม พื้นที่ประมาณ 200 ไร่ เห็นควรรักษาไว้เพื่อเป็นแหล่งอาหารจากธรรมชาติ เพื่อให้ราษฎรได้เก็บหาของป่า พืชอาหาร เห็ดต่าง ๆ สมุนไพร โดยไม่ตัดไม้ทำลายป่า

สถานที่ดำเนินการ

บริเวณพื้นที่สาธารณะประโยชน์ (ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ฯ) ท้องที่ บ้านโคกสว่าง
หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 ตำบลโคกสว่าง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม พื้นที่ดำเนินการประมาณ140
ไร่

ลักษณะสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่าเต็งรัง ดินมีสภาพเป็นดินทรายปนลูกรัง ต้นไม้เดิมตาม
ธรรมชาติมีขนาดความสูงประมาณ 6 – 10 เมตร ความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับชุมชนในหมู่บ้านโคกสว่าง หมู่ 1 และหมู่ 8 รวมทั้งหมู่บ้าน
ใกล้เคียง โดยมีการจัดการในลักษณะแบบฟาร์มเพื่อผลิตอาหารที่บริโภคได้ เพื่อให้ราษฎรได้เก็บหาไป
บริโภค หรือใช้สอยในครัวเรือน เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพในครอบครัว โดย

เป้าหมายของโครงการ

  1. ในพื้นที่ส่วนที่มีสภาพเป็นป่าธรรมชาติเดิม ได้แก่บริเวณด้านหน้าแปลงส่วนที่ติดริมถนนลึกเข้าไปในแปลงไม่เกิน 80 เมตร จะดำเนินการปลูกเสริมพืชอาหารบางชนิดจำพวกเป็นเถาเลื้อย
    โดยปลูกให้เลื้อยขึ้นไปตามต้นไม้เดิม เช่น ขจร(สลิด) เถาหมาน้อย กลอย ส้มลม ส้มออบแอบ และ มันป่าบางชนิด พร้อมทดลองเพาะเลี้ยงแมลงกินได้บางชนิดที่เป็นที่นิยมในท้องถิ่น เสริมเข้าไปใน พื้นที่ป่าธรรมชาติให้มีปริมาณหนาแน่น เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีนตามธรรมชาติ เช่นมดแดง โดยเพาะเลี้ยงเสริมเข้าไปกับต้นไม้เดิม ในพื้นที่ดำเนินการ ประมาณ 20 ไร่
  2. ในพื้นที่ที่ต้นไม้ตามธรรมชาติขึ้นกระจายห่าง ๆ ดำเนินการปลูกพืชอาหาร ที่สามารถนำมา บริโภคได้ ทั้งใบ ดอก ผล โดยปลูก ขี้เหล็กบ้าน สะเดา เพกา กระโดนน้ำ มะม่วงแก้ว คอแลน เป็นไม้ เรือนยอดชั้นบน ไม้ชั้นรองประกอบด้วย ติ้ว ชะมวง ผักเม็ก มะสัง มะตูม มะไฟป่า มะเม่าหลวง มะกรูด มะนาว ยอบ้าน แคบ้าน มะรุม ชะอม เป็นต้น ส่วนไม้พื้นล่าง นำหวายดง กระเจียวขาว ชะพลู เนียมหูเสือ ข่าป่า กระชาย เถาย่านาง และพืชอาหาร ที่เหมาะบางชนิดปลูกเสริมไประหว่างไม้ชั้นบน ในส่วนที่ระบบน้ำสมบูณร์ดำเนินการปลูกผักหวานป่าเพื่อเพิ่มปริมาณพืชอาหารที่มีค่าในท้องถิ่นให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากพืชอาหารแล้ว ในบริเวณดังกล่าวจะดำเนินการปลูก พรรณไม้ให้สี เช่น แกแล หรือเข (ให้สีเหลืองสด) ฝางเสน(ให้สีแดง) คำแสด มะเกลือ เป็นต้น และพรรณไม้ที่ใช้เป็นสมุนไพรหรือ สารกำจัดศัตรูพืช อาทิเช่น หนอนตายอยาก หางไหลแดง รวมทั้งพรรณไม้ของป่าอื่น ๆ ที่สามารถนำ ส่วนต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยางบง นำเปลือกไปทำธูป สีเสียดเปลือก นำเปลือกไปเคี้ยวกินกับ หมาก เป็นต้น
  3. บริเวณแนวรั้ว ดำเนินการปลูกไผ่สามชนิด ประกอบด้วย ไผ่ไร่ ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง (โดย เน้นไผ่เลี้ยงเป็นกรณีพิเศษ) ซึ่งไผ่ทั้งสามชนิดนี้นอกจากนำหน่อมาบริโภคแล้ว ยังสามารถนำลำมาใช้ ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย
  4. พื้นที่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำสาธารณะ ดำเนินการปลูก พืชอาหารที่ชอบขึ้นริมน้ำ เช่น กุ่มน้ำ กระโดนน้ำ ผักเม็ก เป็นต้น และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยปลูกพรรณไม้น้ำบางชนิด
  5. ดำเนินการสร้างเรือนเพาะชำ(ชั่วคราว) เพื่อเพาะกล้าไม้มีค่า และของป่าบางชนิดรวมทั้งไม้ โตเร็วบางชนิดด้วย สำหรับแจกจ่ายแก่ราษฎรในพื้นที่ เพื่อนำไปปลูกบริเวณหัวไร่ปลายนา สำหรับ เป็นไม้ใช้สอย ไม้กินได้ และไม้ฟืน (จากการพูดคุยกับราษฎรในหมู่บ้านพบว่ายังมีการลักลอบตัดไม้ ขนาดเล็ก ๆ จากที่สาธารณะ เพื่อมาไว้ใช้เป็นฟืน)
  6. จัดวางระบบน้ำสำหรับใช้ในการปลูกพรรณไม้ต่าง ๆ โดยจะเดินท่อน้ำให้ทั่วถึงบริเวณพื้นที่ โครงการฯ และสร้างถังพักน้ำไว้ในจุดที่เหมาะสม
  7. จัดทำแนวรั้วล้อมรอบพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ เพื่อป้องกันปศุสัตว์เข้ามารบกวนพรรณไม้ ที่ดำเนินการปลูก แนวรั้วโดยรอบตลอดพื้นที่ เป็นระยะทาง 3,506 เมตร

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ได้มีการจ้างแรงงานราษฎรในท้องถิ่นจำนวน 30 ครอบครัว ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีงานทำ และมีรายได้ประจำ
  2. เป็นฟาร์มอาหารป่าชุมชนของราษฎรในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง ที่จะสามารถใช้ ประโยชน์จากป่าแห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหาร รวมทั้งเพื่อการยังชีพในด้านต่าง ๆ เช่น แหล่งไม้ให้สี บางชนิดรวมทั้งของป่าต่าง ๆ บางประเภทที่ราษฎรเก็บหามาใช้ประโยชน์ได้
  3. ทำให้เกิดสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ที่ดี
  4. ราษฎรในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการหวงแหนผืนป่าแห่งนี้ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
  5. เป็นรูปแบบการจัดการฟาร์มเพื่อผลิตอาหารจากป่า ซึ่งเป็นอาหารจากธรรมชาติที่ปลอด สารพิษ ที่นำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ได้

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740