" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้16
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้245
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้541
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1166
mod_vvisit_counterเดือนนี้1154
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา4261
mod_vvisit_counterทั้งหมด1003322

โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ด้านป่าไม้)
There are no translations available.

โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ด้านป่าไม้)

จังหวัดอ่างทอง

ความเป็นมาของโครงการ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  ทรงห่วงใยถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จากการที่จังหวัดอ่างทองได้ประสบปัญหาอุทกภัย  ในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน  ๒๕๔๙  ซึ่งทำให้พื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยรวมทั้งสิ่งก่อสร้างสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ  เกิดความเสียหาย  พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานให้จังหวัดจัดทำโครงการฟาร์มตัวอย่างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร  และจัดหาอาหาร  ทางด้านการเกษตรให้กับราษฎรที่ประสบภัยและเดือดร้อน  โดยจังหวัดอ่างทอง ได้จัดทำฟาร์มตัวอย่าง ๒ แห่ง แห่งแรกที่หนองระหารจีน  ตำบลบ้านอิฐ  อำเภอเมืองอ่างทอง  ในพื้นที่   ๓๖  ไร่  จัดทำฟาร์มตัวอย่างแห่งที่ ๒  โดยใช้ที่ราชพัสดุ  หมู่ ๓  ตำบลสีบัวทอง  อำเภอแสวงหา  จังหวัดอ่างทอง  ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่  มีระบบส่งน้ำชลประทานที่สมบูรณ์  ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง  พื้นที่ทั้งหมด  ๑,๐๐๕  ไร่ ๒ งาน ๖๘ ตารางวา  ในระยะแรกใช้พื้นที่ดำเนินโครงการแล้วประมาณ  ๕๘๗ ไร่ โดยพื้นที่ดำเนินการดังกล่าวได้ดำเนินงานด้านป่าไม้ จำนวนพื้นที่ ๑๐ ไร่ ซึ่งดำเนินการโดยกรมป่าไม้ โดยปลูกต้นไม้แบบไม่เป็นแถวเป็นแนวเพื่อให้เหมือนป่าธรรมชาติ มีการปลูกต้นไม้  จำนวน๑๕๐ ชนิด จำนวน ๔,๖๑๒ ต้น และด้วยทรงห่วงใยรวมทั้งเป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ เมื่อวันที่  ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  และทรงมีพระราชเสาวนีย์ กับอธิบดีกรมป่าไม้ให้ดำเนินการปลูกป่า ในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ระยะที่สอง จำนวนพื้นที่ ๕๐ ไร่ ในการดำเนินการพัฒนางานด้านป่าไม้ในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ระยะที่สอง จำนวนพื้นที่ ๕๐ ไร่ นี้  กรมป่าไม้ จะจัดทำเป็นพื้นที่ป่าไม้ตัวอย่าง เป็นศูนย์ถ่ายทอดวิชาการป่าไม้ โดยการสร้างป่าต้นน้ำจำลอง และนำเสนอรูปแบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น และการปลูกแฝก จัดทำสวนรวมพันธุ์ไม้มงคลต่าง สวนรวมพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด สวนรวมพันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ สวนรวมพันธุ์ไม้สมุนไพร แปลงสาธิตระบบวนเกษตร ป่าไม้ ๓ อย่างได้ประโยชน์ ๔ อย่าง เพื่อสร้างเป็นศูนย์ถ่ายทองเทคโนโลยีป่าไม้ ส่งเสริมอาชีพป่าไม้ และเป็นแหล่งผลิตอาหารป่า เป็นธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank)   และจะสาธิตด้านการจัดการผลผลิตที่ได้จากสวนป่าต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การนำผลผลิตป่าไม้ไปใช้ประโยชน์ แก่ ประชาชนทั่วไป และเยาวชนในท้องที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดใกล้เคียง


วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อเป็นแหล่งจ้างแรงงานของราษฎร โดยให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินทำการเกษตร รวมทั้งราษฎรในพื้นที่ ตำบลสีบัวทอง  และบริเวณใกล้เคียงได้เข้ามาทำงานในฟาร์มตัวอย่างได้มีงานทำ  มีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัว                
  2. เพื่อเป็นศูนย์สาธิตและถ่ายทอดวิชาการป่าไม้ และส่งเสริมอาชีพด้านป่าไม้ แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
  3. เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารป่า เป็นธนาคารอาหารชุมชน (Food Bank)
  4. เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ “ป่าไม้ตัวอย่างของภาคกลาง”
  5. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง 

ระยะเวลาดำเนินการ ผลการดำเนินการ

ในปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๕๑กรมป่าไม้ได้จัดสรรงบประมาณปกติของกรมป่าไม้ ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ( ด้านป่าไม้)จั งหวัดอ่างทอง สำหรับดูแลรักษาสวนป่า ที่ได้ดำเนินการปลูกไปแล้ว ซึ่งโครงการฯ ได้บำรุงรักษาสวนป่าอย่างดียิ่งโดยการตกแต่งกิ่งก้าน และดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สวนป่ามีความสวยงามและเป็นที่ศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ของผู้มาศึกษา ดูงาน ต่อไป และได้มีการเพาะชำกล้าไม้ทั่วไปและกล้าไม้มีค่าสำหรับสนับสนุนกิจกรรมในโครงการ และแจกจ่ายแก่ประชาชนที่สนใจ  

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740