" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้14
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้245
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้539
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1166
mod_vvisit_counterเดือนนี้1152
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา4261
mod_vvisit_counterทั้งหมด1003320

There are no translations available.

โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

จังหวัดหนองคาย

 

ความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีสายพระเนตรอันกว้างและยาวไกล  ทรงเห็นความสำคัญ  ของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  โดยทรงเริ่มดำเนินงานพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ  ตั้งแต่ปี พ.ศ.  2503  เป็นต้นมา  โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการสำรวจรวบรวมปลูกดูแลรักษาพันธุ์พืชต่างๆ ที่หาอยากและกำลังจะหมดไป
ต่อมาในปี  พ.ศ. 2535  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงสานพระราชปณิธาน ต่อโดยมีพระราชดำริกับ  นายแก้วขวัญ   วัชโรทัย  เลขาธิการสำนักพระราชวัง  ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพันของประเทศ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดาเป็นผู้ดำเนินการ  จัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2536   เป็นต้นมา

จังหวัดหนองคาย  จึงได้จัดหาพื้นที่ป่าที่มีความเหมาะสมที่จะอนุรักษ์พันธุ์พืช – สมุนไพร   มิให้สูญพันธุ์ไป  โดยจัดทำสวนป่ารวบรวมพันธ์พืช  ในท้องที่จังหวัดหนองคาย  โดยคัดเลือกเอาป่าบริเวณ  ๓ทอกน้อย บ้านภูสวาท  ตำบลหนองเดิ่น อ.บุ่งคล้า  จังหวัดหนองคาย  ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศครอบคลุมสภาพต่าง ๆ  ทั้งเป็นที่ราบ  หน้าผา  ดานหิน ที่ลุ่มน้ำขัง  สภาพป่า  มีทั้งป่าดิบแล้ง  ป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง   และป่าบุ่ง - ป่าทาม  ในเนื้อที่  2,115  ไร่  มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก  มีพันธุ์ไม้หลัก ๆ ไผ่กว่า  10 ชนิด   ประดู่  มะค่าโมง ตะเคียนหิน  ตะเคียนทอง  ยางนา  ชิงชัน  พะยูง  คายโซ่  มะพอก  ฯลฯ   สมุนไพร ได้แก่  เป้าใหญ่  เป้าน้อย  ดีหมี  อ้อยสามสวน  กำลังเสือโคร่ง  ม้ากระทืบโรง   หมากแน่ง  สามสิบสองปานดง   ฯลฯ

หลักการและเหตุผล

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้นำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้เกินขีดจำกัด  กรอปกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ทำให้หลายปีที่ผ่านมา  โลกได้สูญเสีย ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชไปอย่างรวดเร็ว  ประเทศไทยเป็นแหล่งพันธุกรรมพืช ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  ที่ประสพปัญหาเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ  ทั่วโลก ที่จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมนุษย์ได้บุกรุกเข้าไปทำลาย  เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม  ทำให้ระบบนิเวศวิทยาของพืชเปลี่ยนไป   จนพืชบางชนิดได้มีการเสี่ยม และสูญพันธุ์  ( Genetic  drift  or  Genetic  erosion  )   ไปเป็นจำนวนมาก
ในการเพิ่มผลผลิตในการปลูกพืชนั้น  การใช้พันธุ์ดีเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง   ผลผลิตจะสูงขึ้น หากรู้จักใช้พันธุ์ที่ดี  มีความด้านทานต่อโรคและแมลง  ซึ่งพันธุ์ที่ดีส่วนใหญ่  ได้จากการปรับปรุงสายพันธ์ให้ดีขึ้น  โดยรวบรวมเอาลักษณะดีจากหลายๆ แหล่งพันธุ์มารวมเป็นพันธุ์เดียวกัน  แต่วัสถุดิบเพื่อการปรับปรุงที่สำคัญที่สุดคือ “  เชื้อพันธุ์พืช  “  การเสาะหาเชื้อพันธุ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ จากแหล่งทรัพยากรพืช ( Plant  Genetic  Resources )  ต่าง ๆ นำมาปลูกเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์  และบำรุงรักษาพันธุ์ ที่มีอยู่แล้วให้คงไว้เป็นพ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์  เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นสงวนแหล่งพันธุกรรมพืชเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
  2. อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
  3. ศูนย์รวบรวมพันธุ์พืช และสมุนไพรที่สำคัญของท้องถิ่น และ ในประเทศ
  4. เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์กรรมพืช
  5. เป็นแหล่งขยายพันธ์พืชและสมุนไพร  ให้แก่ชุมชน
  6. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกี่ยวเนื่องกับป่าไม้  สมุนไพร  ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ตามภูมิสังคม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างยั่งยืน

7.   เป้าหมายของโครงการ

  1. อนุรักษ์สภาพป่าเดิม และปลูกป่าเสริมในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก
  2. ราษฎรเรียนรู้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด  อย่างเหมาะสม  ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยั่งยืน
  3. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จังหวัดหนองคาย
  4. เป็นแหล่งผลิต – แจกจ่าย  พันธุ์พืช และสมุนไพรที่มีคุณภาพ  ตรงตามความต้องการของราษฎร ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  
  5. ราษฎรมีอาชีพเสริม จากสมุนไพรที่เพาะปลูกขึ้นเอง รวมถึงการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นผสม ผสาน บูรณาการ กับองค์ความรู้ใหม่  เพิ่มมูลค่า  เพื่อพัฒนาสู่การแข่งขัน  เชิงการค้า
  6. ราษฎรมีอาชีพเสริมจากการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่ไม่เหมาะสม (ป่าบุ่ง – ป่าทาม ที่เสื่อมสภาพ)

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740