" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้103
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้104
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้207
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1253
mod_vvisit_counterเดือนนี้996
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา4261
mod_vvisit_counterทั้งหมด1003164

There are no translations available.

โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 9 จังหวัดยะลา

ความเป็นมาและพระราชดำริ

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  โดยศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี  องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  ทรงรับหมู่บ้านรัตนกิตติเข้าไว้ในโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนาครั้งนี้  เป็นการพระราชทานโอกาสแก่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย  และพระราชทานความช่วยเหลือโดยไม่เลือกเชื้อชาติ  ศาสนา  ด้วยพระกรุณาธิคุณอย่างแท้จริง  เป็นการแสดงให้ชาวโลกได้เห็นว่าประเทศไทยมีจุดยืนที่สำคัญในการสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของมวลมนุษยชาติ  โดยปราศจากการคุกคาม
สำหรับการดำเนินโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9  สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้รับโครงการมาบริหารต่อมาจากกองทัพภาคที่4  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการบริหารเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  โดยจัดทำแผนงานและให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา  เพื่อให้เกิดความมั่นคงในพื้นที่ตามแนวชายแดนโดยมิต้องมีการสู้รบ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการปกครองในลักษณะยุทธศาสตร์การต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ  ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างราษฎรในหมู่ บ้านเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่  และในการดำเนินโครงการต่างๆ  เหล่านี้  จะช่วยให้ราษฎรสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการหาเลี้ยงชีพ  และรวมถึงการป้องกันภัยอันตรายให้กับหมู่บ้านของตนเองได้ด้วยเช่นกัน

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

  1. เพื่อพัฒนา  ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม  และความเป็นอยู่ตามแนวชายแดน
  2. เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และต้นน้ำลำธาร
  3. เพื่อศึกษา วิจัย  พืชหายากและพืชสมุนไพรป่า

ระยะเวลาดำเนินการและผลการดำเนินงาน

ผลการปฏิบัติงานโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 9  จังหวัดยะลา
ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่  1 ตุลาคม  พ.ศ.2549 - 30  กันยายน  พ.ศ.2550

กิจกรรม

จำนวน

หน่วย

ผลการดำเนินงาน

หมายเหตุ

1.เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป

20,000

กล้า

20,000

 

2.เพาะชำกล้าไม้มีค่า

20,000

กล้า

20,000

 

3.งานอำนวยการ  และประสานงานดำเนินการ

12

เดือน

12

 

 

 

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740