" เป็นผู้นำ ด้านการบริหารจัดการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนอย่างยั่งยืน รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ " วิสัยทัศน์ สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้115
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้104
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้219
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่ผ่านมา1253
mod_vvisit_counterเดือนนี้1008
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา4261
mod_vvisit_counterทั้งหมด1003176

There are no translations available.

โครงการฟาร์มตัวอย่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านดอนม่วงพัฒนา
กิจกรรมป่าอาหารชุมชน จังหวัดมุกดาหาร

ความเป็นของโครงการ

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเยี่ยมราษฎร บ้านดอนม่วงพัฒนา หมู่ที่ 11 ตำบลโพนทราย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ทรงพบว่าราษฎรในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียงมีฐานะยากจน ขาดแคลนที่ดินทำกิน และว่างงานเป็นจำนวนมาก จึงได้มีพระราชเสาวนีย์ ให้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องได้สำรวจข้อมูลพื้นที่ และในเบื้องต้นได้พระราชทานฟาร์มตัวอย่าง เพื่อเป็นการสร้างงานให้แก่ราษฎร
ฟาร์มตัวอย่างดำเนินการในพื้นที่ ประมาณ 200 ไร่ พื้นที่บางส่วนมีสภาพเป็นที่โล่งซึ่งเคยผ่านการแผ้วถางทำการเกษตรมาแล้ว ก็จะได้ดำเนินการทำเป็นฟาร์มแบบผสมผสาน โดยมีทั้งการปลูกพืชผักการเกษตร(ปลอดสารพิษ) การประมง เลี้ยงสัตว์ พื้นที่ส่วนนี้ประมาณ 80 ไร่ พื้นที่ส่วนที่เหลือประมาณ 120 ไร่
มีสภาพเป็นป่าธรรมชาติ ได้จัดทำเป็นโครงการป่าอาหารชุมชน โดยเน้นหนักให้เป็นป่าอาหารที่อุดมสมบูรณ์เพื่อให้ชุมชนสามารถจะเก็บหาไปบริโภคได้

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับราษฎรในหมู่บ้านดอนม่วงพัฒนา หมู่ 7 รวมทั้งหมู่บ้านใกล้เคียง โดยมีการจัดการในลักษณะแบบฟาร์มเพื่อผลิตอาหารที่บริโภคได้ เพื่อให้ราษฎรได้เก็บหาไปบริโภค หรือใช้สอยในครัวเรือน เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพในครอบครัว โดยเน้นหนักการใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับชุมชน อาหารที่ได้จะได้จากพืชอาหารต่าง ๆ ที่สามารถปลูกเพิ่มเติมเข้าไปได้ในพื้นที่ ซึ่งเป็นพืชที่สามารถบริโภคส่วนต่าง ๆ ได้ เช่น ราก หน่อ ยอด ใบ ดอก ผล เป็นต้น รวมทั้งสร้างและรักษาระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมเพื่อเป็นแหล่งผลิตเห็ดกินได้ชนิดต่าง ๆ ที่จะขึ้นได้ตามธรรมชาติสร้างระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมแก่การอาศัยและเพาะเลี้ยงแมลงกินได้บางชนิดเพิ่มเติมให้มากขึ้น เช่น มดแดง เป็นต้น กล่าวคือจัดสร้างให้เป็นแหล่งพรรณไม้ พืชอาหาร สมุนไพร เครื่องเทศ แมลงกินได้และของป่าอื่น
ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีพของชุมชน

เป้าหมาย

  1. ในพื้นที่ส่วนที่มีสภาพเป็นป่าธรรมชาติเดิมที่สมบูรณ์ มีต้นไม้ตามธรรมชาติขึ้นค่อนข้างหนาแน่น จะดำเนินการปลูกเสริมพืชอาหารบางชนิดจำพวกเป็นเถาเลื้อยโดยปลูกให้เลื้อยขึ้นไป
    ตามต้นไม้เดิม เช่น ขจร(สลิด) เถาหมาน้อย กลอย ส้มลม ส้มออบแอบ และมันป่าบางชนิด
    เพาะเลี้ยงแมลงกินได้บางชนิดที่เป็นที่นิยมในท้องถิ่น เสริมเข้าไปในพื้นที่ป่าธรรมชาติให้มี
    ปริมาณหนาแน่น เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารโปรตีนตามธรรมชาติ เช่น มดแดง โดยเพาะเลี้ยงเสริม
    เข้าไปกับต้นไม้เดิม
  2. ในพื้นที่ที่ต้นไม้ตามธรรมชาติขึ้นกระจายห่าง ๆ (ลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรม) ดำเนินการ
    ปลูกพืชอาหาร ที่สามารถนำมาบริโภคได้ ทั้งใบ ดอก ผล เช่นขี้เหล็กบ้าน สะเดา เพกา กระโดน
    น้ำ เป็นไม้เรือนยอดชั้นบน ไม้ชั้นรองประกอบด้วย ผักหวานป่า ติ้ว ชะมวง ผักสะเม็ก มะสัง
    มะตูม มะไฟป่า มะเม่าหลวง ยอบ้าน แคบ้าน มะรุม ชะอม เป็นต้น ส่วนไม้พื้นล่าง จะนำหวายดง
    กระชาย เถาย่านาง และพืชอาหารและสมุนไพร ที่เหมาะ
    สมชนิดอื่น ๆ ไปปลูกเสริม
  3. บริเวณร่องน้ำซับ ดำเนินการปลูกพืชอาหารที่ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้น เช่น ผักกูด ผักหนาม กระทือ ผักสะเม็ก ฯลฯ และสร้างฝายดักตะกอนในบริเวณที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นในพื้นที่
  4. บริเวณแนวรั้ว ดำเนินการปลูกไผ่ที่เหมาะสมบางชนิด เช่น ไผ่ไร่ ไผ่รวก และไผ่เลี้ยง ซึ่ง
    ไผ่ทั้งสามชนิดนี้นอกจากนำหน่อมาบริโภคแล้ว ยังสามารถนำลำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้
    อีกด้วย
  5. ดำเนินการสร้างเรือนเพาะชำ เพื่อเพาะกล้าไม้โตเร็วและพืชอาหารบางชนิดสำหรับ
    แจกจ่ายแก่ราษฎรในพื้นที่ เพื่อนำไปปลูกเพื่อใช้สอย หรือบริโภคต่อไป
  6. จัดวางระบบน้ำสำหรับใช้ในการปลูกพรรณไม้ต่าง ๆ โดยจะเดินท่อน้ำให้ทั่วถึงบริเวณ
    พื้นที่โครงการฯ และสร้างถังพักน้ำไว้ในจุดที่เหมาะสม
  7. ผลิตกล้าไม้ จำพวกพืชอาหาร สมุนไพร เครื่องเทศ และไม้ใช้สอยบางชนิด เพื่อ
    สนับสนุนแจกจ่าย ให้ราษฎรนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นแหล่งอาหารป่าชุมชนของราษฎรในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง ที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากป่าแห่งนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหาร รวมทั้งเพื่อการยังชีพในด้านต่าง
    รวมทั้งของป่าต่าง ๆ บางประเภทที่ราษฎรเก็บหามาใช้ประโยชน์ได้
  2. ทำให้เกิดสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศน์ที่ดี
  3. ราษฎรในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการหวงแหนผืนป่าแห่งนี้ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
  4. เป็นแหล่งให้การสนับสนุนกล้าแก่ราษฎรในพื้นที่หมู่บ้าน รอบ ๆ โครงการ ฯ
  5. ราษฎรจำนวน 20 ครอบครัวมีงานทำ และมีรายได้ประจำ จากการมาทำงานในกิจกรรมของโครงการ ฯ

 
สำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้ 61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : (662) 561 4292-3 # 5103 โทรสาร : (662) 579 2740